Page 22 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          15



                                                     ผลการวิจัยและวิจารณ์


                         การศึกษาการจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล
                  ดำเนินการทดลองในช่วง เดือนตุลาคม  2561  สิ้นสุดเดือนกันยายน 2563  ที่แปลงเกษตรกรในพื้นที่  หมู่ที่ 6  บ้าน
                  น้ำหรา  ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล พบว่า
                  1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง
                         1.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH )
                         จากผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนดำเนินการทดลองในปีที่ 1 (ตารางที่ 1) พบว่า ก่อนการทดลอง
                  ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง  3.77 - 6.47  อยู่ในระดับกรดรุนแรงถึงระดับเป็นกรดเล็กน้อย  หลังการ
                  ทดลองค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย  แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ พบว่าดินมีค่าความ
                  เป็นกรดเป็นด่างเพิ่มขึ้นในทุกตำรับการทดลอง  มีค่าอยู่ระหว่าง 4.67 - 5.60  ซึ่งตำรับการทดลองที่ 3  การใส่ปุ๋ยหมัก

                  พด.1 อัตรา  2,000  กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสด ร่วมกับน้ำมักชีวภาพและตำรับการทดลองที่ 8 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                  คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงที่สุด  คือ 5.60 อยู่ในระดับกรด
                  จัดเล็กน้อย   ส่วนตำรับการทดลองที่ 9 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและน้ำหมัก
                  ชีวภาพ ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำที่สุด  คือ 4.67 อยู่ในระดับกรดจัด  สำหรับการทดลองปีที่ 2 (ตาราง 1)  พบว่า
                  ก่อนการทดลองดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง  5.27 – 5.83  ซึ่งอยู่ในระดับกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
                  หลังจากการทดลองพบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ตำรับการทดลองที่ 2 การใส่ปุ๋ย
                  หมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ   ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงที่สุดเท่ากับ  5.57 อยู่ใน

                  ระดับกรดจัด  ตำรับการทดลองที่ 9 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่  ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและน้ำหมัก
                  ชีวภาพ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ำที่สุด
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27