Page 21 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          14



                         2. ไถแปร 1-2 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การทำร่องหรือแถวปลูกและการงอกของเมล็ดข้าวโพดหวาน

                         2.4 การปลูก
                         1. หยอดเมล็ดข้าวโพดหวานหลุมละ 2-3 เมล็ด (คลุกยาป้องกันเชื้อรา) ใช้เมล็ดข้าวโพดหวานประมาณ 1-1.5
                  กิโลกรัม/ไร่
                         2. เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 14 วัน ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งให้เหลือไว้ 1 ต้นต่อหลุม
                         3. เมื่อข้าวโพดหวานมีอายุ 25-30 วันควรใส่น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยยูเรีย

                         5. กำจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้นทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ย เพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชแย่งปุ๋ยข้าวโพดหวาน

                         2.5 การใส่ปุ๋ย
                          - ใส่ปุ๋ยหมัก พด.1 อัตรา 2,000  กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วันและอายุ 40 วัน ในตำรับที่
                  1-3

                         - น้ำหมักชีวภาพ พด.2 อัตรา 200 ซีซีผสมน้ำ 100 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นหรือรดลงดินทุกๆ 7 วัน ในตำรับที่
                  2,3,5,6,8 และ ตำรับที่ 9
                         - ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300  กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วันและอายุ 40 วัน ในตำรับที่ 4-
                  6
                         - ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่  เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วันและอายุ 40 วัน ในตำรับที่
                  7-9
                         2.6 การป้องกันโรค

                         - ปุ๋ยหมัก พด.3 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าในทุกตำรับการทดลอง

                         2.7 การป้องกันแมลง
                         - สารควบคุมแมลงศัตรูพืช พด.7 ที่เจือจางแล้วอัตรา 50 ลิตรต่อไร่โดยฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุกๆ
                  20 วันหรือช่วงที่แมลงระบาดพ่นทุกๆ 3 วันติดต่อกัน 3 ครั้ง ในทุกตำรับการทดลอง
                         หมายเหตุ: การเจือจางสารควบคุมแมลงศัตรูพืชต่อน้ำ เท่ากับ 1ลิตรผสมน้ำ 100 ลิตร


                         2.8 การเก็บเกี่ยว
                         - หลังจากข้าวโพดหวานออกไหม 50 เปอร์เซนต์ของทั้งแปลงให้นับอีก 18-20 วัน จึงเก็บผลผลิตหรือเก็บ
                  เกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวานเมื่ออายุ 65-75 วัน


                         2.9 การเก็บรวบรวมข้อมูล
                         - พื้นที่เก็บเกี่ยวข้อมูล ขนาด 3 x 3 เมตร ต่อตำรับการทดลอง
                         - เก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการทดลองในระดับความลึก 0-15 ซม.ทุกตำรับการทดลองเพื่อวิเคราะห์
                  สมบัติของดินก่อนและหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน
                         - บันทึกข้อมูลผลวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน ดังนี้ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  ปริมาณอินทรียวัตถุ

                  ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม
                         - บันทึกข้อมูลน้ำหนักสดของพืชปุ๋ยสดเมื่ออายุครบกำหนดไถกลบ
                         - บันทึกข้อมูลผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว (น้ำหนักสดของฝักข้าวโพด)
                         - บันทึกข้อมูลน้ำหนักสดของตอซังข้าวโพดหวานหลังการเก็บเกี่ยวก่อนทำการสับกลบ
                         - ทำการทดลองปลูกข้าวโพดหวานซ้ำอีก 1 ฤดูกาล (ไม่รวมฤดูกาลที่ทำการทดลอง) เพื่อตรวจสอบการ
                  เปลี่ยนแปลงของดินหลังจากใส่ปัจจัยต่างๆไปแล้ว
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26