Page 23 - การจัดการอินทรียวัตถุในดินเพื่อการผลิตข้าวโพดหวานในระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดสตูล Soil Organic Matter Management for Sweet Corn Production in Organic Agriculture System, Sutun Province.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          16



                  ตารางที่ 4 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนและหลังการทดลองปีที่ 1 และปีที่ 2

                                                                           ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH 1:1)
                                    ตำรับการทดลอง                          ปีที่  1            ปีที่ 2
                                                                       ก่อน      หลัง      ก่อน      หลัง
                  ตำรับที่ 1 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับ  5.40   5.17    5.27     5.43
                  กลบตอซังข้าวโพดหวาน

                  ตำรับที่ 2 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมัก  5.23   5.30   5.60   5.57
                  ชีวภาพ
                  ตำรับที่ 3 ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ย  4.37   5.60   5.53   5.23
                  สด ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 4 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับ  3.77   5.47   5.57    5.23
                  กลบตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 5 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับน้ำ  6.47   5.23   5.77    5.23
                  หมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 6 ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืช  4.20   4.80   5.70    5.23

                  ปุ๋ยสด และน้ำหมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 7 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ  4.77   4.97   5.30   5.33
                  สับกลบตอซังข้าวโพดหวาน
                  ตำรับที่ 8 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ  5.27   5.60   5.83   5.40
                  น้ำหมักชีวภาพ
                  ตำรับที่ 9 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับ  3.77   4.67   5.50   5.17
                  พืชปุ๋ยสดและน้ำหมักชีวภาพ
                                        F-test                          ns        ns       ns        ns

                                        CV (%)                        29.49      9.46      6.77     6.24

                    หมายเหตุ  ns หมายถึง ไม่แตกต่างกันทางสถิติ

                             1.2 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM)

                             จากผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนดำเนินการทดลองในปีที่ 1 (ตารางที่ 2) พบว่า ก่อนการ
                  ทดลองในดินมีปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) อยู่ในระดับปานกลาง มีปริมาณอินทรียวัตถุระหว่าง  1.45 – 2.99
                  เปอร์เซ็นต์  หลังการทดลองพบว่า ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  ตำรับการทดลองที่ 4  การใส่ปุ๋ย
                  ชีวภาพ พด.12 อัตรา 300 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน  ในดินมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุด  เท่ากับ
                  1.82 เปอร์เซ็นต์  มีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลาง ตำรับการทดลองที่ 7  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวาน ในดินมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยที่สุดเท่ากับ 1.57 เปอร์เซ็นต์
                  ในดินมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ค่อนข้างต่ำ  สำหรับการทดลองปีที่ 2 (ตารางที่ 2)  พบว่าก่อนการจากทดลองในดินมี

                  ปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าอยู่ระหว่าง 1.41 – 1.68  เปอร์เซ็นต์ หลังการทดลองพบว่าทุก
                  ตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ  ตำรับการทดลองที่ 1 การใส่ปุ๋ยหมักพด.1 อัตรา 2,000 กก.ต่อไร่
                  ร่วมกับสับกลบตอซังข้าวโพดหวานมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุดเท่ากับ 1.71 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ตำรับการ
                  ทดลองที่  9  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กก.ต่อไร่ ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและน้ำหมักชีวภาพ  ในดินมีปริมาณ
                  อินทรียวัตถุต่ำที่สุดเท่ากับ  1.37 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการลดลงของปริมาณอินทรียวัตถุ  เนื่องจากการสูญหายไปกับสภาพ
                  ภูมิอากาศ   ซึ่งได้แก่  อุณหภูมิ  และน้ำฝน (ปรัชญาและคณะ,2534) และปริมาณอินทรียวัตถุบางส่วนถูกจุลินทรีย์ใน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28