Page 21 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทรายจัดต่อการผลิตข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา Effect of bio-organic fertilizers on change for soil properties in sandy soils to increase sweet corn yield at Songkhla province.
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
19
ขั้นตอนและวิธีการด าเนินการ
1. การเตรียมการ
1.1 คัดเลือกพื้นที่ดินทรายจัด ชุดดินบาเจาะ จ านวน 1 ไร่
1 . 2 เตรียมแปลงทดลองและสุ่มต ารับการทดลองในพื้นที่ทดลอง ขนาด 4 x 4 เมตร
เก็บข้อมูล 3 x 3 เมตร (มี 8 ต ารับการทดลอง 3 ซ ้า ) รวมเป็น 24 แปลงย่อย ใช้พื้นที่การทดลองทั้งหมด
ประมาณ 800 ตารางเมตร
1.3 เก็บตัวอย่างดิน 3 ครั้งต่อฤดูกาลผลิต คือ
1. ก่อนการทดลอง
2. หลังการไถกลบพืชปุ๋ยสดในต ารับที่ปลูกพืชปุ๋ยสด
3. หลังการทดลอง (ในต ารับที่ 3 , 4 , 7 และ 8 จะเก็บตัวอย่างดินหลังสับกลบตอซัง
ข้าวโพดหวานแล้ว 2 สัปดาห์) โดยจะเก็บที่ระดับความลึก 0 - 20 เซนติเมตร
ทุกต ารับการทดลองเพื่อวิเคราะห์สมบัติของดินก่อนและหลังจากการเก็บเกี่ยว
ผลผลิตข้าวโพดหวาน
1.4 ท า Site characterization
2. การเตรียมดินและการจัดการ
2.1 ไถดะ 1 ครั้ง ให้ลึกประมาณ 15 - 30 เซนติเมตร และตากดินไว้ประมาณ 7 วันเพื่อท าลาย
โรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน
2.2 ไถแปร 1 - 2 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุย เหมาะแก่การท าร่องหรือแถวปลูกและการงอกของเมล็ด
ข้าวโพดหวาน
2.3 ใส่ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อจุลินทรีย์ส าหรับพืชปรับปรุงบ ารุงดิน พด.11 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่
หว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูกในต ารับที่ 5 และ 6
2.4 หว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) อัตรา 6 - 8 กิโลกรัมต่อไร่ในต ารับที่ 5 และ 6 สับกลบ
เมื่ออายุ 45 - 50 วัน (ออกดอก 50 %)
2 . 5 ปลูกข้าวโพดหวานโดยการหยอดเมล็ด หลุมละ 2 - 3 เมล็ด โดยมีระยะปลูก
25 X 75 เซนติเมตร ท าร่องระบายน ้าป้องกันน ้าท่วมขังภายในแปลง (ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน
จ านวน 1.5 – 2.0 กิโลกรัมต่อไร่)
2.6 เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 14 วัน ถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งให้เหลือไว้ 1 ต้นต่อหลุม
2.7 ก าจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้นท าพร้อมกับการใส่ปุ๋ย ป้องกันไม่ให้วัชพืชแย่งปุ๋ยที่ใส่ให้
ข้าวโพดหวาน
3. การใส่ปุ๋ย
3.1 ใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 4,000 กิโลกรัมต่อไร่โดยใส่ 3 ครั้ง คือ ระยะเตรียมพื้นที่ปลูกไถพรวนดิน
ข้าวโพดหวานอายุ 20 และ 40 วัน ตามล าดับ ในต ารับที่ 1 และ 5