Page 19 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           19


               ตารางที่ 3 สถิติพรรณนาของปริมาณโพแทสเซียมในดินจากกลุ่มตัวอย่างดินที่ศึกษา

                          กลุ่มทดสอบ                     ปริมาณโพแทสเซียม (mg kg )            จำนวนตัวอย่าง
                                                                                  -1
                                                    Min        Max        Mean        SD

                ตัวอย่างดินทั้งหมด                   3         287         82         58           829
                ปริมาณอนุภาคดินเหนียว ≤20%           3          75         27         15           171

                ปริมาณอนุภาคดินเหนียว 21-40%        10         170         71         34           116

                ปริมาณอนุภาคดินเหนียว 41-60%        23         286         112        58            97
                ปริมาณอนุภาคดินเหนียว >60%          17         331         172        62            47



               2. ผลการวัดสเปกตรัมด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด


                                                                           -1
                       เมื่อนำตัวอย่างดินมาสแกนในช่วงเลขคลื่น 12,800- 3,900 cm (ความยาวคลื่น 780-2,560 nm) จะได้
               สเปกตรัม ดังในรูปที่ 1 (a, b) พบว่า มีช่วงของการดูดกลืนแสงของตัวอย่างดิน ที่เห็นได้ชัดเจนอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ

               ที่ประมาณเลขคลื่น 7,068 cm (1,414 nm), 5,217 cm  (1,916 nm) และ 4,528 cm  (2,208 nm) เป็นช่วง
                                         -1
                                                               -1
                                                                                         -1
               การดูดกลืนของพันธะ N-H (first overtone), C=O (second overtone) และ C-H + C=O ซึ่งเป็นส่วนประกอบ
               หลักของอินทรียวัตถุในดินทั้งสิ้น

                                                                                                      -1
                       ดังนั้น จากสเปกตรัมที่ได้ ผู้วิจัยเลือกใช้ข้อมูลเฉพาะช่วงเลขคลื่นที่ประมาณ 9,300- 4,300 cm (ความ
               ยาวคลื่น 1,075-2,325 nm) ซึ่งมีสัญญาณรบกวนต่ำมาใช้ในการสร้างสมการทำนาย เพื่อให้ผลการสร้างสมการ

               ทำนายปริมาณโพแทสเซียมที่แม่นยำที่สุด และเป็นช่วงของเลขคลื่นของสเปกตรัมที่มีข้อมูลการดูดกลืนเพียง
               พอที่จะนำไปสร้างสมการเทียบมาตรฐาน นอกจากนี้การสร้างสมการเทียบมาตรฐานจะได้จากเส้นสเปกตรัมที่ผ่าน

               การปรับแต่งสเปกตรัมให้เหมาะสม และเลือกช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสมแล้ว
















                    (a) เครื่อง FT-NIR spectrometer (NIR)                   (b) ช่วงย่านคลื่นของสเปกตรัมที่ถูกเลือก

               ภาพที่ 1 ภาพแสดงการวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมในดินด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (a) เครื่อง FT-NIR

               spectrometer (NIR) (b) ช่วงย่านคลื่นของสเปกตรัมที่ถูกเลือก
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24