Page 23 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           23


                       ในส่วนการทดสอบความถูกต้องของสมการที่สร้างขึ้นด้วยวิธี cross validation นั้น จากผลการวิเคราะห์

                                                          2
               ทางสถิติด้วย PLSR ของสมการ validation มีค่า R  = 0.84, RMSECV = 13.5, RPD = 3.01 และ Bias = 0.21
               (ภาพที่ 4 (b)  และตารางที่ 5) พบว่า สมการ validation มีค่า RPD >3 หมายถึงสมการคาลิเบรชันที่สร้างขึ้น

               สามารถทำนายได้ระดับปานกลาง แต่สำหรับงานวิเคราะห์ทางด้านดิน RPD >3 สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้


















                             (a) สมการ Calibration                          (b) สมการ Validation



               ภาพที่ 4 แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณโพแทสเซียมในดินที่ได้จากการวิเคราะห์จริงจากกลุ่มตัวอย่างดินที่มี Clay
               21-40%  (a) ความสัมพันธ์ของสมการ Calibration  (b) ความสัมพันธ์ของสมการ Validation



                       3.2.3 สมการคาลิเบรชันจากกลุ่มตัวอย่างดิน ที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว 41-60% พบว่า ในการ
               สร้างสมการคาลิเบรชันของกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว 41-60% หลังการกำจัดข้อมูลที่มีความผิดปกติออก

               จากกลุ่มแล้ว เหลือตัวอย่างจำนวน 97 ตัวอย่าง ทำการปรับแต่งสเปกตรัมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการ
               วิเคราะห์ จากนั้นทำการสร้างสมการคาลิเบรชั่น ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย PLSR ของกลุ่ม Calibration set มี

               R  = 0.90, RMSEE = 14.00 และ RPD = 3.22 (ภาพที่ 5 (a) และตารางที่ 4) จากค่า R  แสดงถึงค่าความสัมพันธ์
                                                                                        2
                 2
               ระหว่างค่าจริงและค่าทำนายมีความสัมพันธ์ดี, ค่า RMSEE และ RPD แสดงให้เห็นว่าสมการมีความแม่นยำระดับ
               ปานกลาง

                       ในส่วนการทดสอบความถูกต้องของสมการที่สร้างขึ้นด้วยวิธี cross validation นั้น จากผลการวิเคราะห์
               ทางสถิติด้วย PLSR ของสมการ validation มีค่า R  = 0.88, RMSECV = 15.20, RPD = 3.12 และ Bias = 0.44
                                                          2
               (ภาพที่ 5 (b)  และตารางที่ 5) พบว่า สมการ validation มีค่า RPD >3 หมายถึงสมการคาลิเบรชันที่สร้างขึ้น

               สามารถทำนายได้ระดับปานกลาง
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28