Page 14 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           14


                       ตัวอย่างที่มีความชื้น (moisture content) สูง จะมีค่าการดูดกลืนแสงสูงกว่าตัวอย่างที่มีความชื้นต่ำ โดย

               ตัวอย่างที่มีความชื้นต่ำแทบจะไม่มีค่าการดูดกลืนแสงที่ชัดเจน ตรงกันข้ามกับตัวอย่างที่มีความชื้นสูง จะมีค่าการ
               ดูดกลืนแสงสูงกว่าตัวอย่างที่มีความชื้นต่ำ (Osborne et al., 1993a)

                       การใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ทางเคมีนาน อาจทำให้องค์ประกอบทางเคมีในตัวอย่างมีการ

               เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของข้อมูลวิเคราะห์ทางเคมี (ศศิวิมล, 2553)
                       2.5 ข้อได้เปรียบและข้อด้อยของเทคนิค NIR เมื่อเทียบกับวิธีทางเคมีอื่นๆ

                       ข้อได้เปรียบของเทคนิค NIR คือ เป็นวิธีที่สามารถใช้ทดแทนการวิเคราะห์ทางเคมีได้ และในระยะยาว
               สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ อีกทั้งไม่ใช้สารเคมีในการเตรียมตัวอย่าง ดังนั้นจึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการ

               ตรวจสอบที่ไม่ทำลายตัวอย่าง (non-destructive) รวมทั้งวิธีการเตรียมตัวอย่างไม่ยุ่งยากและใช้ตัวอย่างใน

               ปริมาณน้อย เป็นวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา เชื่อถือได้และปลอดภัย การวัดเสปกตรัมแต่ละครั้ง
               ของแต่ละตัวอย่าง สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อทำนายสมบัติด้านต่างๆ ได้หลายด้านในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องมี

               การวัดสเปกตรัมใหม่ และสามารถนำเครื่องเนียร์อินฟราเรดไปตรวจสอบในพื้นที่การเกษตรได้โดยตรง แต่เครื่องมือ
               ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดมีราคาแพง การสร้างสมการเพื่อนำไปใช้ในการทำนาย ต้องการผู้ที่มีทักษะ

               ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และสถิติขั้นสูง เพื่อคัดเลือก chemometric ที่เหมาะสม และทุกพารามิเตอร์ที่ต้องการ

               ทำนายต้องมีสมการของตนเองในการนำไปใช้ในการทำนายค่าที่สนใจ (Williams, 2007; McClure and
               Tsuchikawa, 2007) จึงเป็นข้อด้อยของเทคนิค NIR



               3. ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ NIR ในการทำนายค่าวิเคราะห์สมบัติดิน
                       เทคนิคเนียร์อินฟราเรดถูกใช้ครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 1960 ในการตรวจสอบคุณภาพของผลแอป

               เปิ้ล ซึ่งเทคนิคดังกล่าวยังสามารถคาดการณ์ระดับอายุของผลไม้และปริมาณน้ำตาล  รวมทั้งยังสามารถใช้ในการ
               ทำนายรสชาติและเนื้อสัมผัสของผลไม้ดังกล่าวด้วย จากจุดเริ่มต้นเหล่านี้เทคนิคดังกล่าวจึงเปิดตัวเป็นที่นิยมใช้ใน

               ภาคเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากความรวดเร็วของการวิเคราะห์ และการไม่ต้องมีการทำลายตัวอย่าง

               (ปานมนัส, 2556) การศึกษาวิจัยด้านการใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดมาใช้ด้านวิทยาศาสตร์ทางดินได้เติบโตขึ้นอย่าง
               รวดเร็ว (BenDor and Banin, 1995; Bowers and Hanks, 1965; Brown et al., 2006; Shepherd and

               Walsh, 2002; Stenberg et al., 1995) โดยการศึกษามักมุ่งเน้นด้านสมบัติดินพื้นฐาน เช่น อินทรียวัตถุในดิน
               เนื้อดิน ชนิดแร่ในดิน รวมทั้งธาตุอาหารต่างๆ ในดิน เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ถูก มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีการใช้สารเคมี

               ตลอดจนไม่มีการทำลายตัวอย่าง (Viscarra Rosselet al., 2006) การพัฒนาวิธีการประเมินปริมาณอินทรียวัตถุใน

               ดินโดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดร่วมกับการประเมินด้วยวิธีเครโมเตริกนั้น ได้มีการศึกษามานานโดยนักวิจัยจากที่
               ต่างๆ (Haaland and Thomas, 1988; Reeves et al., 2006; Barthes et al., 2008; Vasques et al., 2009)

               ชลันธร และสมศักดิ์ (2557) ศึกษาการใช้เทคนิคแสงอินฟราเรดย่านใกล้ในการทำนายค่าอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19