Page 18 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           18


                                                         ผลการศึกษา


               1. ข้อมูลของตัวอย่างที่ศึกษา, ผลการวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมในดินทางเคมีด้วยวิธีมาตรฐาน


                       จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน จำนวน 1,070 ตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ปัจจัยเรื่องปริมาณ

               อนุภาคดินเหนียวมาเป็นเกณฑ์ในการศึกษา เพื่อให้ได้สมการที่มีความจำเพาะและมีประสิทธิภาพในการทำนาย
               มากขึ้น และเพื่อให้การสร้างสมการใช้กลุ่มข้อมูลที่ดี ผู้วิจัยได้มีการตัดข้อมูลกลุ่มที่มีค่านอกกลุ่มออกจากกลุ่ม

               ตัวอย่างทดสอบ (outlier) จากการศึกษาพบว่า มีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่เป็นข้อมูลที่มีค่าปริมาณโพแทสเซียมที่สูง

               ผิดปกติไปจากกลุ่ม และมีลักษณะของสเปกตรัมที่เป็นปัญหา ดังนั้นหลังจากตัดค่านอกกลุ่มออกแล้ว เหลือตัวอย่าง
               จำนวน 829 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มศึกษา ดังนี้

                       กลุ่มที่ 1  เป็นกลุ่มตัวอย่างดินทั้งหมดที่ไม่มีการแยกปริมาณของอนุภาคดินเหนียว จำนวน 829 ตัวอย่าง
                                                                                            -1

               ครอบคลุมค่าปริมาณโพแทสเซียมในดิน  โดยมีค่าต่ำสุดและสูงสุด เท่ากับ 3 และ 287 mg kg ตามลำดับ (ตาราง
               ที่ 3)

                       กลุ่มที่ 2  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดินเฉพาะที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว (% clay) ≤20% จากตัวอย่างดิน
               กลุ่มที่ 1 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนี้มีจำนวนทั้งหมด 171 ตัวอย่าง โดยมีค่าปริมาณโพแทสเซียมในดินต่ำสุดและสูงสุด

               เท่ากับ 3 และ 75 mg kg ตามลำดับ (ตารางที่ 3)
                                    -1
                       กลุ่มที่ 3  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดินเฉพาะที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว (% clay) 21-40% จากตัวอย่าง
               ดินกลุ่มที่ 1 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนี้มีจำนวนทั้งหมด 116 ตัวอย่าง โดยมีค่าปริมาณโพแทสเซียมในดินต่ำสุดและสูงสุด

                                       -1
               เท่ากับ 10 และ 170 mg kg ตามลำดับ (ตารางที่ 3)
                       กลุ่มที่ 4  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดินเฉพาะที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว (% clay) 41-60% จากตัวอย่าง
               ดินกลุ่มที่ 1 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนี้มีจำนวนทั้งหมด 97 ตัวอย่าง โดยมีค่าปริมาณโพแทสเซียมในดินต่ำสุดและสูงสุด

                                       -1
               เท่ากับ 23 และ 286 mg kg ตามลำดับ (ตารางที่ 3)
                       กลุ่มที่ 5 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดินเฉพาะที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว (% clay) >60% จากตัวอย่างดิน

               กลุ่มที่ 1 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนี้มีจำนวนทั้งหมด 47 ตัวอย่าง โดยมีค่าปริมาณโพแทสเซียมในดินต่ำสุดและสูงสุด เท่ากับ

               17 และ 331 mg kg ตามลำดับ (ตารางที่ 3)
                                -1
                       จากการวิเคราะห์สถิติพรรณาของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีปริมาณโพแทสเซียม

               ในดินครอบคลุมตั้งแต่ 3-331 mg kg  ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตัวอย่างที่ศึกษาครอบคลุมปริมาณโพแทสเซียมในช่วงกว้าง
                                              -1
               เพื่อให้สมการที่ได้สามารถใช้ได้จริงในอนาคต (ตารางที่ 3)
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23