Page 22 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           22


                       3.2.1 สมการคาลิเบรชันจากกลุ่มตัวอย่างดินที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว ≤20% พบว่า ในการสร้าง

               สมการคาลิเบรชันของกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว ≤20% หลังการกำจัดข้อมูลที่มีความผิดปกติออกจากกลุ่ม
               แล้ว เหลือตัวอย่างจำนวน 171 ตัวอย่าง ทำการปรับแต่งสเปกตรัมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการวิเคราะห์

                                                                                                          2
               จากนั้นทำการสร้างสมการคาลิเบรชั่น ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย PLSR ของกลุ่ม Calibration set มีค่า R  =
               0.71, RMSEE = 8.27 และ RPD = 1.85 (ภาพที่ 3 (a) และตารางที่ 4) ซึ่งจากค่าทางสถิติ R  แสดงถึงค่า
                                                                                                 2
               ความสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าทำนายยังมีความสัมพันธ์น้อย และ RPD มีค่าต่ำ ถือว่าสมการคาลิเบรชัน

               ดังกล่าว มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ไม่สามารถใช้เป็นสมการทำนายได้
                       ในส่วนการทดสอบความถูกต้องของสมการที่สร้างขึ้นด้วยวิธี cross validation นั้น จากผลการวิเคราะห์

               ทางสถิติด้วย PLSR ของสมการ validation มีค่า R  = 0.64, RMSECV = 9.02, RPD = 1.67 และ Bias = -0.10
                                                          2
               (ภาพที่ 3 (b) และตารางที่ 5) พบว่า สมการ validation มีค่า RPD ต่ำ หมายถึงสมการคาลิเบรชันที่สร้างขึ้นยังไม่
               สามารถทำนายได้อย่างแม่นยำ
















                             (a) สมการ Calibration                          (b) สมการ Validation


               ภาพที่ 3 แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณโพแทสเซียมในดินที่ได้จากการวิเคราะห์จริงจากกลุ่มตัวอย่างดินที่มี Clay

               ≤20%  (a) ความสัมพันธ์ของสมการ Calibration  (b) ความสัมพันธ์ของสมการ Validation


                       3.2.2 สมการคาลิเบรชันจากกลุ่มตัวอย่างดิน ที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว 21-40% พบว่า ในการ

               สร้างสมการคาลิเบรชันของกลุ่มตัวอย่างที่มีอนุภาคดินเหนียว 21-40% หลังการกำจัดข้อมูลที่มีความผิดปกติออก
               จากกลุ่มแล้ว เหลือตัวอย่างจำนวน 116 ตัวอย่าง ทำการปรับแต่งสเปกตรัมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการ

               วิเคราะห์ จากนั้นทำการสร้างสมการคาลิเบรชั่น ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย PLSR ของกลุ่ม Calibration set มี

               ค่า R  = 0.87, RMSEE = 12.50 และ RPD = 3.15 (ภาพที่ 4 (a)  และตารางที่ 4) จากค่า R , RMSEE และ RPD
                                                                                            2
                    2
               จะถือว่าเป็นสมการคาลิเบรชันที่มีประสิทธิภาพพอใช้ สามารถใช้คัดเลือก (แบ่งกลุ่ม) ได้ มีความแม่นยำระดับปาน
               กลาง
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27