Page 16 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           16


               วิธีการ

                   1.  การเตรียมตัวอย่างเพื่อใช้ในการวิจัย
                       คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดินที่ต้องการนำมาศึกษา โดยการเลือกจากตัวอย่างดินของเกษตรกรและนักวิจัยจาก

               พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ส่งเข้ารับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการกลุ่มวิทยบริการ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการ

               พัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน  ใช่ช่วงปี 2560-2562 จำนวน 1,070 ตัวอย่าง เตรียมตัวอย่างดินโดยการผึ่งดินให้
               แห้งในที่ร่ม (air dried) จากนั้นบดตัวอย่างดิน แล้วร่อนดินผ่านตะแกรงขนาด 2 mm เก็บใส่ขวดพลาสติกเพื่อรอ

               การนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ค่าทางเคมีต่อไป
                   2.  การวัดค่าการดูดกลืนแสงเนียร์อินฟราเรด

                       การวัดด้วยวิธีเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (Near Infrared Spectroscopy: NIRS) งานวิจัยนี้ได้ทำ

               การวัดสเปกตรัมการดูดซับคลื่นแสงในช่วงเลขคลื่น 12,800- 3,900 cm (ความยาวคลื่น 780-2,560 nm) ด้วย
                                                                            -1
               เครื่อง FT-NIR Spectrometer (MPA, Bruker, German) ทำการสแกนตัวอย่างโดยการนำตัวอย่างดินใส่ลงใน

               ถ้วยใส่ตัวอย่าง (sample cell) ที่มีพื้นที่รับแสงด้านล่างทำจากควอตซ์ (Quartz) ใส่ตัวอย่างให้กระจาย สม่ำเสมอ
               และอัดให้แน่น เป็นการวัดตัวอย่างโดยวิธีการตรวจวัดแบบสะท้อน (Reflectance) ทำการวัดสเปกตรัมซ้ำในแต่ละ

               ตัวอย่าง จำนวน 2 ซ้ำ (duplicates)

                   3.  การวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมในดินทางเคมี และการวิเคราะห์ขนาดของอนุภาคดิน
                       การวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน ด้วยวิธีการสกัดดินด้วยสารละลายสกัด 1N

               Ammonium acetate, pH7 (Jackson, 1958) แล้ววัดด้วยเครื่อง Flame Photometer โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

               ครอบคลุมปริมาณโพแทสเซียมที่จะวัดเป็นช่วงกว้าง เพื่อให้ครอบคลุมค่าวิเคราะห์โพแทสเซียมในดินของตัวอย่างที่
               ต้องการวัดเพื่อใช้งานจริง ในการวิเคราะห์ขนาดของอนุภาคดิน (particle size distribution) โดยใช้วิธี

               Hydrometer Method เพื่อแบ่งกลุ่มการทดลองตามขนาดอนุภาคดิน ให้ตัวอย่างทั้งหมดที่นำมาศึกษาครอบคลุม
               มวลของอนุภาคอนินทรีย์ 3 กลุ่มขนาด คือ กลุ่มที่มีอนุภาคทราย (sand) กลุ่มที่มีอนุภาคทรายตะกอน หรือ

               อนุภาคทรายแป้ง (silt) และกลุ่มที่มีอนุภาคดินเหนียว (clay)

                   4.  การสร้างสมการเบื้องต้นสำหรับทำนายปริมาณโพแทสเซียมในดินและการทดสอบสมการ
                       บันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียมในดินจากการวิเคราะห์ทางเคมีตามวิธีมาตรฐาน และ

               ปริมาณอนุภาคดินเหนียว (% clay) ลงในเส้นสเปกตรัมของแต่ละตัวอย่าง ใช้วิธีการสร้างสมการด้วยโปรแกรม
               OPUS version 7.0 โดยใช้เทคนิค Partial Least Square Regression (PLSR) เพื่อทำนายปริมาณโพแทสเซียม

               แล้วทำการเปรียบเทียบค่าทำนายกับค่าที่วัดได้จากวิธีมาตรฐานด้วยวิธีการตรวจสอบแบบ cross validation

               เริ่มต้นจากการใช้กลุ่มตัวอย่างดินที่มีการตัดค่านอกกลุ่มออกแล้ว มาสร้างสมการคาลิเบรชัน โดยตัดข้อมูลตัวอย่าง
               ออกทีละกลุ่ม (กลุ่มละ 5%) เพื่อใช้เป็นชุดทดสอบความถูกต้องของสมการ และใช้กลุ่มตัวอย่างที่เหลือเป็นชุดสร้าง

               สมการทำนาย หลังจากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างกลุ่มแรกกลับเข้ามาในฐานข้อมูลของตัวอย่างทั้งหมด และทำการสุ่ม
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21