Page 15 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           15


               ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดิน โดยการวัดแบบการส่องผ่านแบบสะท้อนที่ความยาวคลื่น 1,000-2,500 นาโน

               เมตร ก่อนนำไปวิเคราะห์ค่าทางเคมี แล้วนำค่าสเปกตรัมแสงและค่าเคมีที่ได้มาสร้างสมการวิเคราะห์การถดถอย
               (PLS)  พบว่าสมการที่ได้ สามารถทำนายปริมาณอินทรียวัตถุ ไนโตรเจน และโพแทสเซียมในดินได้ค่อนข้างแม่นยำ

               โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SECV) ต่ำ แต่ในการทดลองนี้ใช้ตัวอย่างดินทดสอบจำนวนน้อย คือ 62

               ตัวอย่าง และไม่ได้มีการแยกสมการตามเนื้อดิน ซึ่งเนื้อดินเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อการทำนายปริมาณโพแทสเซียม
               สอดคล้องกับงานวิจัยของ นพมณี (2558) ศึกษาการตรวจสอบความใช้ได้ของเทคนิคเนียร์อินฟราเรดในการ

               ทำนายค่าวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีไดโครเมต การศึกษาใช้ตัวอย่างดิน
               จำนวน 7,433 ตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างดินทั้งหมดที่ไม่มีการแยกปริมาณของอนุภาคดินเหนียว กลุ่มตัวอย่างที่

               มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว น้อยกว่า 20% กลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียว 20-40 % และกลุ่มตัวอย่าง

               ที่มีปริมาณของอนุภาคดิน เหนียว 40-60% ได้สมการคาลิเบรชันที่มีค่าสัมประสิทธิ์ของการพิจารณา (coefficient
               of determination, R ) เท่ากับ 57.06, 72.39,75.27 และ 76.56 ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า การ
                                  2
               วิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดและวิธีไดโครเมตสามารถใช้ทดแทนหรือร่วมกันได้
               ในห้องปฏิบัติการ แต่ควรมีการเลือกใช้สมการที่มีการแบ่งแยกเนื้อดิน เนื่องจากให้ค่าการทำนายที่มีความแม่นยำ

               มากกว่าสมการรวมเนื้อดิน


                                                ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ



               ระยะเวลาดำเนินการ  ตุลาคม 2561 ถึง กันยายน 2563
               สถานที่ดำเนินการ      ห้องปฏิบัติการกลุ่มวิทยบริการ สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน


                                                      อุปกรณ์และวิธีการ



               อุปกรณ์และสารเคมีในการวิเคราะห์
                       1. อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และเครื่องแก้ว ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน

                       2. สารเคมีต่างๆ ได้แก่ Ammonium acetate, สารละลายมาตรฐานโพแทสเซียม ความเข้มข้น 1,000
               มิลลิกรัมต่อลิตร, Sodium hexametaphosphate และ Anhydrous sodium carbonate

                       4. เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เครื่องชั่งไฟฟ้าทศนิยม 2 และ 4 ตำแหน่ง, เครื่อง Flame photometer,

               เครื่อง NIR spectrometer แบบตั้งโต๊ะ (FT-NIR spectrometer), เครื่องเขย่า
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20