Page 17 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           17


               เลือกกลุ่มตัวอย่าง 5% ใหม่อีกครั้ง ทำเช่นนี้ จนหมดชุดตัวอย่าง เมื่อกระบวนการจบ ทุกตัวอย่างจะผ่านการถูก

               นำมาใช้เป็นชุดสร้างสมการทำนาย และทดสอบความถูกต้องของสมการทั้งหมด
                       4.1 การสร้างสมการทำนาย (Calibration)

                       นำข้อมูลค่าการดูดกลืนแสงจากสเปกตรัมเนียร์อินฟราเรดของตัวอย่างดินที่วัดได้จากเครื่อง FT-NIR

               spectrometer มาหาความสัมพันธ์กับปริมาณโพแทสเซียมที่วัดด้วยด้วยวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการ
               วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของค่าการดูดกลืนแสงจากสเปกตรัมที่ได้กับค่าจริงทางเคมี โดยการสร้างสมการเทียบ

               มาตรฐาน ประกอบด้วยขั้นตอนการวิเคราะห์และการพิจารณาข้อมูลที่ผิดปกติ เป็นการกำจัดข้อมูลที่มีความ
               ผิดปกติออกจากกลุ่ม (outlier) จากข้อมูลสเปคตรัมของทุกตัวอย่าง จากนั้นทำการปรับแต่งสเปกตรัมเพื่อเป็นการ

               ลดอิทธิพลของตัวอย่างวิเคราะห์ เช่น การซ้อนทับกันของแถบการดูดกลืนแสงขององค์ประกอบทางเคมีอื่นๆ ของ

               ตัวอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สเปคตรัมแตกต่างกัน โดยการจัดการทางคณิตศาตร์ด้วยวิธีทางเคโมเมตริก
               (Chemometric) แบบต่างๆ ได้แก่  First Derivative, Standard Normal Variant (SNV), Multiplicative

               Scattering Correction และ First Derivative + Standard Normal Variant (SNV), จากนั้นทำการสร้างสมการ
               คาลิเบรชั่น โดยใช้เทคนิค Partial Least Square Regression (PLSR) เปรียบเทียบสมการที่สร้างขึ้นโดยพิจารณา

                                                                         2
               เลือกสมการทำนายที่ดีที่สุด พิจารณาจากค่าสหสัมพันธ์ของสมการ (R ) ควรมีค่าเข้าใกล้ 1 ค่าความคลาดเคลื่อน
               จากการทำนายด้วยตัวอย่างกลุ่มสร้างสมการ (RMSEE) และค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่ทำนายได้จากสมการกับ
               ค่าทางเคมีที่วิเคราะห์ได้จริง (bias) ควรมีค่าต่ำ และควรมีค่าความแม่นยำในการทำนาย (RPD) สูงเพื่อให้ได้สมการ

               ที่ดีที่สุดสำหรับการทำนายปริมาณโพแทสเซียมในดิน

                       4.2 การทดสอบความถูกต้องของสมการที่สร้างขึ้น (validation)
                       เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องและความเหมาะสมของสมการคาลิเบรชันในการทำนายปริมาณ

               โพแทสเซียมในดินด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดที่ได้พัฒนาขึ้น ในการนำมาใช้ทดแทนหรือวิเคราะห์ร่วม/ควบคู่กับ
               การวิเคราะห์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการวิธีเดิม โดยทำการเปรียบเทียบค่าทำนายกับค่าที่วัดได้จากวิธีมาตรฐานด้วย

               วิธีการตรวจสอบแบบ cross validation (การตัดตัวอย่างออกทีละกลุ่ม กลุ่มละ 5% เพื่อใช้เป็นชุดทดสอบความ

               ถูกต้องของสมการ และใช้กลุ่มตัวอย่างที่เหลือเป็นชุดสร้างสมการทำนาย) เป็นการนำสเปกตรัมของตัวอย่างที่
               ทราบค่าทางเคมีแล้ว มาทำนายด้วยสมการที่สร้างขึ้น จากนั้นประเมินความถูกต้องแม่นยำของสมการที่สร้างขึ้น

               โดยการพิจารณาจาก ค่าความคลาดเคลื่อนจากการทำนาย (root mean square error of cross validation:
               RMSECV) และค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่ได้จากการทำนายด้วยสมการที่สร้างขึ้นกับข้อมูลที่ได้จากการ

               วิเคราะห์ด้วยวิธีทางเคมี (RPD) ถ้าข้อมูลที่ได้จากวิธีทั้งสองมีค่าไม่แตกต่างกัน แสดงว่าสมการที่สร้างขึ้นมี

               ประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22