Page 21 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 21

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           21


                       3.1 สมการเทียบมาตรฐานจากกลุ่มตัวอย่างดินทั้งหมดที่ไม่มีการแยกตามปริมาณอนุภาคดินเหนียว

                       กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 1,070 ตัวอย่าง หลังการกำจัดข้อมูลที่มีความผิดปกติออกจากกลุ่มแล้ว
               เหลือตัวอย่างจำนวน 829 ตัวอย่าง ทำการปรับแต่งสเปกตรัมเพื่อลดความคลาดเคลื่อนจากการวิเคราะห์ จากนั้น

                                                                                                     2
               ทำการสร้างสมการคาลิเบรชั่น ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย PLSR ของกลุ่ม Calibration set มีค่า R  = 0.54,
               RMSEE = 39.30 และ RPD = 1.48 (ภาพที่ 2 (a) และตารางที่ 4) ถือว่าสมการคาลิเบรชันดังกล่าว มีประสิทธิภาพ
               ไม่เพียงพอ ไม่สามารถใช้เป็นสมการทำนายได้

                       ในส่วนการทดสอบความถูกต้องของสมการที่สร้างขึ้นด้วยวิธี cross validation นั้น จากผลการวิเคราะห์
                                                          2
               ทางสถิติด้วย PLSR ของสมการ validation มีค่า R  = 0.49, RMSECV = 41.50, RPD = 1.40 และ Bias = 0.18
               (ภาพที่ 2 (b) และตารางที่ 5) ทั้งนี้พบว่าทั้งสมการ calibration และสมการ validation มีค่า R , RPD ต่ำ และมี
                                                                                               2
               ค่า RMSECV สูง เนื่องจากตัวอย่างดินทั้งหมดได้เก็บรวบรวมจากตัวอย่างดินที่ส่งเข้าวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
               ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในด้านวัตถุต้นกำเนิดของดิน ชนิดของเนื้อดิน การกระจายตัวของอนุภาคดิน การใช้

               ประโยชน์ที่ดินและมีการจัดการดินที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการดูดกลืน
               แสงและการสะท้อนกลับของแสง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลสเปกตรัมที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเนียร์

               อินฟราเรด


















                             (a) สมการ Calibration                          (b) สมการ Validation



               ภาพที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ของปริมาณโพแทสเซียมในดินที่ได้จากการวิเคราะห์จริงจากกลุ่มตัวอย่างดินทั้งหมด
               (a) ความสัมพันธ์ของสมการ Calibration  (b) ความสัมพันธ์ของสมการ Validation


                       3.2 สมการคาลิเบรชันโดยพิจารณาปัจจัยด้านปริมาณอนุภาคดินเหนียว


                       เพื่อให้สมการคาลิเบรชันที่ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้วิจัยได้ใช้ปัจจัยด้านปริมาณของอนุภาคดินเหนียว

               เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามปริมาณของอนุภาคดินเหนียว
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26