Page 13 - การประเมินปริมาณโพแทสเซียมในดิน ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด (NIR) The evaluation of Potassium content in soil by Near Infrared.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           13


               สามารถนำไปใช้ในการประเมินค่าคุณภาพตัวอย่างอื่นๆ ได้ แนวทางการแปลความหมายของค่า RPD และ RER

               แสดงดังตารางที่ 2


               ตารางที่ 2 การอธิบายผลของค่า RPD (Williams, 2007)


                       RPD               ความหมาย                            การประยุกต์ใช้

                0.0-2.3            ไม่ดีเลย                ไม่แนะนำ
                2.4-3.0            ไม่ดี                   ใช้คัดเลือก (แบ่งกลุ่ม) แบบหยาบๆ

                3.1-4.9            พอใช้                   ใช้คัดเลือก (แบ่งกลุ่ม) ได้
                5.0-6.4            ดี                      ใช้ควบคุมคุณภาพได้

                6.5-8.0            ดีมาก                   ใช้ควบคุมกระบวนการได้
                8.1 ขึ้นไป         ดีเยี่ยม                ได้ทุกการประยุกต์ใช้




                       2.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการวิเคราะห์ด้วย NIR

                       การสุ่มตัวอย่างมีความสำคัญมากที่จะทำให้ได้สมการที่ดี ในกรณีของตัวอย่างดิน ตัวอย่างควรต้องมีความ
               หลากหลายในเรื่องของพื้นที่ ค่าองค์ประกอบทางเคมีที่ศึกษา และควรจะมีค่าวิเคราะห์ครอบคลุมปริมาณสูงสุด

               และ ต่ำสุดของปริมาณที่ต้องการตรวจวัด การเตรียมตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดอาจไม่

               จำเป็น แต่อาจมีการเตรียมตัวอย่างบ้างกับตัวอย่างบางชนิดเช่น การบด การตัด รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิของ
               ตัวอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของตัวอย่างที่ต้องการตรวจวัด (Kawano, 2002)

                       อุณหภูมิของตัวอย่าง ตัวอย่างที่มีขนาดและรูปร่างเดียวกัน แต่อุณหภูมิในตัวอย่างแตกต่างกัน อาจทำให้
               ได้ข้อมูลสเปกตรัมที่ต่างกัน เนื่องจากอุณหภูมิของตัวอย่างมีผลโดยตรงต่อโมเลกุลของน้ำ ซึ่งความแตกต่างของ

               สเปกตรัมนี้ อาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน แต่จะส่งผลกระทบต่อความแม่นยำสมการ (Blanco and

               Valdes, 2004) ตัวอย่างเช่น การทดลองของ Hansen et al. (1991) ที่พบว่าค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น
               1,210 นาโนเมตร ซึ่งสัมพันธ์กับพันธะ C-H มีค่าการดูดกลืนแสงต่ำลง เมื่ออุณหภูมิของตัวอย่างเพิ่มสูงขึ้น ในการ

               วิเคราะห์ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด ชุดของกลุ่มตัวอย่างที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดที่ต้องการนำมาใช้
               สร้างสมการและกลุ่มทดสอบ สมการควรต้องวิเคราะห์อยู่ในที่ที่มีสภาวะเดียวกัน และควรคงที่ใกล้เคียงกับ

               อุณหภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ในอนาคต (Kawano et al., 1995)

                       การบรรจุ (packing) ตัวอย่างในเซลล์บรรจุที่มีการอัดตัวแน่นมาก ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างตัวอย่างน้อย
               ดังนั้น ในการบรรจุตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดจึงมีความจำเป็นต้องระวังในขณะบรรจุ

               ตัวอย่างในภาชนะที่จะใช้ในการตรวจวัด (Williams and Norris, 2001)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18