Page 13 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมเพื่อการปลูกข้าวโพดหวานอย่างยั่งยืน คือ อัตราส่วน 75 ต่อ 25 เปอร์เซ็นต์ ส่งเสริมการ
                   เจริญเติบโต ไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต และให้ผลตอบแทนต่อไร่เทียบเท่ากับการใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว

                   5. น้ าหมักชีวภาพสมุนไพร (พด.7) โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่ม
                   ประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ประกอบด้วย
                   จุลินทรีย์ 3 สายพันธุ์ คือ ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์ แบคทีเรียผลิตเอนไซม์เซลลูโลสย่อยสลาย

                   สารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียผลิตกรดแลคติก น้ าหมักชีวภาพสมุนไพรเป็นของเหลวสีน้ าตาลใส อัตราการใช้
                   ในพืชผัก โดยเจือจางน้ าหมักชีวภาพสมุนไพรกับน้ า 1:500  อัตรา 50 ลิตร/ไร่/ครั้ง ฉีดพ่นทุก 20 วัน ใช้ประโยชน์ใน
                   การป้องกันแมลงศัตรูพืช (กรมพัฒนาที่ดิน, 2549) โดย นภา และคณะ (2550) พบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์หางไหลสูตร
                   1 (หางไหล+หนอนตายหยาก) มีแนวโน้มก าจัดด้วงหมัดได้ถึง 56.62 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อศึกษาประสิทธิภาพ
                   ผลิตภัณฑ์หางไหลสูตร 2 (หางไหล+ดีปลี+ตะไคร้หอม) ในการควบคุมศัตรูถั่วฝักยาว มีผลให้ถั่วฝักยาวมีผลผลิตสูงสุด
                   2,507  กิโลกรัม  นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ผลิตภัณฑ์หางไหลสูตรต่างๆ (3 สูตร คือ สูตร 1 : หางไหล+หนอนตาย
                   หยาก  สูตร 2 : หางไหล+ดีปลี+ตะไคร้หอม สูตร 3 : หางไหล+หนอนตายหยาก+ตะไคร้หอม)ให้ผลผลิตถั่วฝักยาวสูง
                   กว่าการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช  ในท านองเดียวกัน พรพนา และคณะ (2554)  พบว่า การฉีดพ่นสารป้องกันแมลง

                   ศัตรูพืชที่ผลิตจากหนอนตายหยาก ให้ผลผลิตมะเขือเทศสูงสุด 1,356 กิโลกรัม/ไร่ นอกจากนี้พบว่า การใช้สาร
                   ป้องกันแมลงศัตรูพืชที่หมักจากสมุนไพรร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ า ช่วยให้ผลผลิตมะเขือเทศเพิ่มขึ้น ส่วนงานทดลองของ
                   นุกูล และ อภิพรรณ (2546) พบว่า การฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากสะเดา (Neem) สามารถควบคุมแมลงศัตรูถั่วเหลือง
                   ได้ในระดับหนึ่ง

                   6. ผลของปุ๋ยอินทรีย์ต่อสมบัติทางเคมีของดิน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็น
                   กรด-ด่างของดิน (Buffer  capacity)  ท าให้การเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช นอกจากนี้แล้วปุ๋ย
                   อินทรีย์มักมีผลต่อสมบัติทางเคมีดิน ในลักษณะเอื้ออ านวยและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชให้ดีขึ้น นอกจากนี้แล้ว
                   ปุ๋ยอินทรีย์ยังเป็นวัสดุที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC)  ค่อนข้างสูง  ช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูป
                   ประจุบวกบางชนิดถูกดูดยึด ไม่ให้สูญเสียไป และพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ
                   ปุ๋ยเคมี และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารมากขึ้น (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2544;  ส านัก

                   เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                                                  ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินการ


                   ระยะเวลาด าเนินการ
                         - เริ่มต้น เดือน ตุลาคม 2561 สิ้นสุด เดือน สิงหาคม 2563

                   สถานที่ด าเนินการ
                         - บ้านเอ้ หมู่ 6 ต าบลก่อเอ้ อ าเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
                         - วิเคราะห์ตัวอย่างดินและตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ในโครงการวิจัย ณ กลุ่มวิเคราะห์ดิน ต าบลสระคู อ าเภอ
                   สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
                         - แปลงวิจัยตั้งอยู่พิกัดที่ 1701513 N 457053 E UTM grid, Zone 48Q มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่
                       - แปลงวิจัยจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 40 ชุดดินจักราช (Ndg-slB)

                         สภาพพื้นที่ (Site characterization)
                        การจ าแนก (USDA) Coarse-loamy, mixed, isohyperthermic Typic (Kandic Oxyaquic) Paleustults

                   การก าเนิดจากตะกอนน้ า สภาพพื้นที่ เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ าดี
                   ปานกลางถึงดี การไหลบ่าของน้ าบนผิวดิน ปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ า ปานกลาง ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดิน
                   ลึก เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทราย สีน้ าตาล ดินล่าง  เป็นดินร่วนปนทรายในตอนบน และพบดินร่วน
                   เหนียวปนทรายในตอนล่าง มีสีน้ าตาลหรือน้ าตาลปนเหลือง พบจุดประสีน้ าตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18