Page 9 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรปริมาณ
มาก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร พบว่า ประเทศไทยสูญเสียเงินตราปี
ละหลายหมื่นหลายพันล้านบาทจากการน าเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ในปี 2560 มีการน าเข้าปุ๋ยเคมี 4,822,923
เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 49,301 ล้านบาท (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2560) โดยประเทศไทยน าเข้าสารเคมี
ทางการเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการใช้สารเคมีทางการเกษตรเหล่านี้มี
ผลร้ายต่อสุขภาพของเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตเองและผู้บริโภค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของประเทศ ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
เกษตรกรนิยมปลูกพืชหลังนาข้าวอย่างแพร่หลาย อาทิ เช่น ฟักทอง ถั่วเขียว ถั่วลิสง มันเทศ และแตงโม ทั้งนี้อาจ
เนื่องมาจากนาข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากเป็นพื้นที่ดอน ซึ่งเหมาะสมต่อการปลูกแตงโม เนื่องจาก
แตงโมปลูกง่าย ได้ผลผลิตดี มีอายุการเก็บเกี่ยวเพียง 65-70 วัน ประกอบกับแตงโมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้
ในดินร่วนปนทราย สามารถเก็บไว้จ าหน่ายได้ จึงเป็นเหตุผลจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกมากขึ้น การปลูกแตงโมหลัง
นาข้าว ให้ผลผลิตประมาณ 3,000-4,500 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นมูลค่าการซื้อขาย 81,669,179 บาทต่อปี (ประจักษ์,
2555) ราคาขายส่งเฉลี่ยของแตงโมพันธุ์กินรีเบอร์กลางเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน 2560 อยู่ในช่วง 11.40-
14.61 บาทต่อกิโลกรัม (ตลาดสี่มุมเมือง, 2560) ในการปลูกแตงโมนั้น เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการ
เกษตรเป็นจ านวนมาก เพื่อเพิ่มปริมาณ/คุณภาพของผลผลิต และธาตุอาหารพืชแก่ดิน โดยมีการเพิ่มอินทรียวัตถุ
น้อยมากหรือไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุเลย ขาดการปรับปรุงบ ารุงดินด้วยวิธีที่เหมาะสม ส่งผลให้ดินสูญเสียความอุดม
สมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินแห้งแข็ง ไม่ร่วนซุย ประสิทธิภาพในการดูดซับน้ าและธาตุอาหารลดลง ท าให้ปริมาณ
และคุณภาพผลผลิตลดลง ดังนั้นจึงควรมีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน โดยการหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีหลาย
ชนิด เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด น้ าหมักชีวภาพสมุนไพร และน้ าหมักชีวภาพ ซึ่งการใช้ปุ๋ย
ดังกล่าวนี้จะช่วยลดต้นทุนการผลิต ค่าปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรลงได้ นอกจากนี้แล้วยังเป็นการเพิ่มปริมาณ
ธาตุอาหารพืช และปรับปรุงบ ารุงดินให้มีโครงสร้างโปร่ง-ร่วนซุยขึ้นด้วย
ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความส าคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจที่จะช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
และสร้างอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว จึงได้ด าเนินงานวิจัยนี้ด้วยการเลือกปลูกแตงโมเป็นพืชหลัง
นาข้าว อย่างไรก็ตาม การปลูกแตงโมหลังนาข้าวจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการน าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มาใช้ใน
การผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ฮอร์โมน และผลผลิตพืชร่วมกับการใช้ปุ๋ยคอก (มูลไก่) ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
ซึ่งช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน ท าให้ดินมีสมบัติทางกายภาพดีขึ้น อีก
ทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้มาก ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศได้กว่าหลาย
หมื่นล้านบาทต่อปี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
ร่วมกับมูลไก่ที่เหมาะสมต่อปริมาณและคุณภาพความหวานของแตงโมหลังนาข้าว รวมทั้งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน ภายหลังการใช้ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อจุลินทรีย์ที่ตรึง
ไนโตรเจน จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมร่วมกับมูลไก่