Page 18 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
โพแทสเซียม เท่ากับ 1.14 และ 0.45 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ จึงเป็นผลให้ดินหลังการทดลองทั้ง 2 ปี มีปริมาณ
โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์เหลือตกค้างในดินมากที่สุด
ตารางที่ 2 สมบัติทางเคมีของดิน ปีที่ 1 (2562) และปีที่ 2 (2563)
-1
-1
OM (%) P O (mg.kg ) K O (mg.kg )
สมบัติของดิน 2 5 2
หลังทดลอง หลังทดลอง หลังทดลอง หลังทดลอง หลังทดลอง หลังทดลอง
ต ารับ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 1 ปีที่ 2
ก่อนทดลองปีที่ 1 0.51 - 18 - 44 -
1 0.60 0.93 22 c 67 c 11 d 50 c
2 0.57 1.02 19 c 91 ab 16 cd 48 c
3 0.46 1.03 36 b 76 bc 30 b 43 c
4 0.50 0.98 59 a 103 a 48 a 77 a
5 0.46 0.92 24 c 74 bc 25 bc 46 c
6 0.47 1.04 24 c 109 a 25 bc 65 b
C.V. (%) 20.25 14.28 16.66 15.04 30.58 11.32
F-test ns ns ** ** ** **
หมายเหตุ : ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ และ ** หมายถึง ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมี
นัยส าคัญยิ่ง ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% ตัวอักษรที่แตกต่างกันในแต่ละคอลัมน์ แสดงความแตกต่างทางสถิติ ที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 99% โดยวิธี DMRT
ต ารับที่ 1 ควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยชีวภาพขยายเชื้อพด.และไม่ใส่มูลไก่) ต ารับที่ 2 ปุ๋ยชีวภาพฯ อัตรา 2.4 ตัน
ต่อไร่ ต ารับที่ 3 ปุ๋ยชีวภาพฯ อัตรา 0.3 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 2.1 ตันต่อไร่ ต ารับที่ 4 ปุ๋ยชีวภาพฯ อัตรา 0.6
ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1.8 ตันต่อไร่ ต ารับที่ 5 ปุ๋ยชีวภาพฯ อัตรา 0.9 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1.5 ตัน
ต่อไร่ และต ารับที่ 6 ปุ๋ยชีวภาพฯ อัตรา 1.2 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1.2 ตันต่อไร่
2. การเจริญเติบโตของแตงโม
2.1 การเจริญเติบโตแตงโมปีที่ 1 (2562) พบว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ทุกอัตรา (ทุกต ารับ
การทดลอง) ส่งผลให้แตงโมมีการเจริญเติบโตดีกว่าต ารับที่ 1 (ไม่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) และมูลไก่ ซึ่งเป็นแปลง
ควบคุม โดยใส่เฉพาะปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-21 อัตราตามค าแนะน า 100 กิโลกรัมต่อไร่) (ตารางที่ 3) ทั้งนี้อาจเป็น
เพราะปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) และมูลไก่นั้นเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของ
แตงโม ประกอบกับปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) จากกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจน รวมทั้งละลายฟอสฟอรัสและ
โพแทสเซียม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช เพื่อเพิ่มความ
อุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์4 ชนิด ได้แก่
Azotobactertropicalis แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ Burkholderiaunamae แบคทีเรียละลายฟอสเฟต
Bacillus subtilis แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม และ Azotobacterchroococcum และแบคทีเรียสร้างฮอร์โมน
พืช (กรมพัฒนาที่ดิน, 2556) ปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีและมีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ
สามารถช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง 25-30
เปอร์เซ็นต์ สร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดิน
รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย ช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและผลผลิตพืชสูงขึ้น (ส านัก
เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)