Page 11 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   เมล็ด และพันธุ์ธรรมดา (กินเนื้อ) มีเนื้อ 2 สี คือ สีแดงและเหลือง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีกหลายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หนัก เช่น
                   ชาร์ลสตันเกรย์ และพันธุ์เบา เช่น ชูการ์เบบี้ (นิรนาม,  ม.ป.ป.ข)  ส่วนในท้องตลาดมีการจ าหน่ายเมล็ดพันธุ์แตงโม

                   หลากหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์กินรี ตอร์ปิโด ซอนญ่าจินตหรา ไดอาน่า 1636  เพชรศรีนิล T2017  ทรายทอง T2018
                   พจมาน T2019 สวีทบิวตี้ T2020 เป็นต้น (ประพฤติ และ ทรงศักดิ์, 2553) ซึ่ง ประพฤติ และ ทรงศักดิ์ (2553) ได้
                   ทดลองเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงโม เพื่อท าการเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ 5  พันธุ์ คือ พันธุ์
                   ไดอาน่า 1636 พันธุ์เพชรศรีนิล T2017 พันธุ์ทรายทอง T2018  พันธุ์พจมาน T2019 และพันธุ์สวีทบิวตี้ T2020 โดย
                   วัดความยาวของเถาที่อายุ 14 28 และ 42 วันหลังย้ายปลูก ซึ่งความยาวของเถาแตงโมทั้ง 5 พันธุ์ไม่มีความแตกต่าง
                   กันทางสถิติ

                   2. การจัดการปุ๋ยเพื่อปลูกแตงโม ควรไถพรวนดินให้หน้าดินร่วนโปร่งและลึก ท าให้ดินอุ้มน้ าและเก็บความชื้นได้มาก
                   ขึ้น ซึ่งช่วยป้องกันการขาดน้ าได้เป็นอย่างดี และแตงโมหยั่งรากลงในดินได้ดี การเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกแตงโมด้วยการ
                   ไถดะ 2 ครั้ง และไถพรวนดินอีก 3 ครั้ง ตากแดดทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน หากดินที่ปลูกมี pH ต่ ากว่า 5.5
                   จะต้องใส่ปูนขาว อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่ก่อนการปลูกอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังการนั้นให้ไถพรวน
                   คลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดิน ควรปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี โดยใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 ตันต่อไร่ เพื่อช่วยให้ดินร่วนโปร่ง

                   และช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินมากขึ้น เฉลิมเกียรติ และ เกตุอร (ม.ป.ป.) แนะน าให้ใช้ปุ๋ยคอก
                   อัตรา 2.4  ตันต่อไร่ แบ่งใส่ 2  ครั้ง คือ ใส่รองพื้นและหลังจากต้นแตงโมมีใบจริงประมาณ 5  ใบ ร่วมกับใช้ปุ๋ยเคมี
                   อัตราส่วน 1:1:2 ซึ่งได้แก่ แม่ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตรา 32 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต
                   สูตร 0-46-0 อัตรา 24 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ สูตร 0-0-60 อัตรา 28 กิโลกรัมต่อไร่น ามาผสม
                   กัน หรือ ปุ๋ยเคมีสูตร10-10-20  หรือ 13-13-21  หรือ สูตร 14-14-21  หรือปุ๋ยสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 100-150
                   กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อแตงโมมีใบจริง 5 ใบ ครั้งที่ 2 และ 3 เมื่อเถาแตงโมยาว 30 และ 90
                   เซนติเมตร ตามล าดับ (เฉลิมเกียรติ และ เกตุอร, ม.ป.ป. ; ประจักษ์, 2555) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ด ารงค์
                   (2551) พบว่า เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งเลือกใช้มูลไก่ค้างปี ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยเกล็ดเป็นอาหารเสริมทางใบ ให้ผลผลิต
                   แตงโมสูงสุด 3,753.60  กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีรายได้สุทธิหลังหักค่าปุ๋ยออกแล้วเท่ากับ 36,315.43  บาท และท าให้มี

                   รายได้เพิ่มขึ้น 10,880.30 บาทต่อไร่ หรือร้อยละ 42.75 และมีข้อเสนอแนะว่า การปลูกแตงโม ควรใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับ
                   ปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยหมัก หาได้ยาก มีราคาสูงกว่าปุ๋ยคอก และเมื่อใช้ปุ๋ยหมักปริมาณมาก จะท าให้มีต้นทุนการผลิตสูง
                   กว่าการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี ในท านองเดียวกับ อาทิตย์ และคณะ (2538)  พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก
                   อัตรา 2 ตันต่อไร่เพียงอย่างเดียวให้ปริมาณธาตุอาหารน้อย ท าให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของแตงโม โดยเฉพาะ
                   พื้นที่ปลูกที่เป็นดินทราย ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า แต่เมื่อใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตันต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร
                   15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้แตงโมเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูงสุด 3,104 กิโลกรัมต่อไร่

                   3. ปุ๋ยชีวภาพ(พด.12)  จากกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจน รวมทั้งละลายฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
                   เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์
                   ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์   4   ชนิด ได้แก่
                   Azotobactertropicalis  แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอิสระ Burkholderiaunamae  แบคทีเรียละลายฟอสเฟต
                   Bacillus subtilis แบคทีเรียละลายโพแทสเซียม และ Azotobacterchroococcum และแบคทีเรียสร้างฮอร์โมน

                   พืช  (กรมพัฒนาที่ดิน,  2556) ปุ๋ยชีวภาพเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมีและมีธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ
                   สามารถช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลง 25-30
                   เปอร์เซ็นต์ สร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในดิน
                   รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย ช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีและผลผลิตพืชสูงขึ้น (ส านัก
                   เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551) การใส่ปุ๋ยชีวภาพฯ เป็นการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง  ถึงแม้ว่าจะมี
                   ปริมาณธาตุอาหารไม่มากเทียบเท่ากับปุ๋ยเคมี แต่มีธาตุอาหารหลักและรองที่พืชจ าเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
                   ค่อนข้างครบถ้วน รวมทั้งธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย (จุลธาตุอาหาร) ซึ่งธาตุอาหารดังกล่าวจะค่อยๆ

                   ปลดปล่อยอย่างช้าๆ และสม่ าเสมอให้แก่พืชในระยะยาว สอดคล้องกับงานวิจัยของ Rosenani และคณะ (2006) ได้
                   พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากกากปาล์มน้ ามันปรับปรุงดินปลูกพืชผักกินใบ ใช้อัตรา 200 กิโลกรัมของไนโตรเจน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16