Page 15 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                         ต ารับ 5 : ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) อัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ + มูลไก่ อัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่)
                         ต ารับ 6 : ปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ + มูลไก่ อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่

                         หมายเหตุ : ต ารับ 3-6 ต่อยอดจากงานวิจัยของ วรรณา และคณะ (2558)
                         2.2 ขั้นตอนการด าเนินการ
                           1. ส ารวจและคัดเลือกพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร นายสนทยา สารบูรณ์ บ้านเอ้ หมู่ที่ 6 ต าบลก่อเอ้ อ าเภอ

                   เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อด าเนินงานวิจัยปลูกแตงโมหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแล้ว ในพื้นที่ดินร่วนปน
                   ทราย โดยใช้พื้นที่ด าเนินการทดลองประมาณ 3 งาน
                           2. ท าการไถเตรียมดิน ใส่ปูนโดโลไมท์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถพรวนคลุกเคล้า แล้วตากดินทิ้ง
                   ไว้ 7-10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อและก าจัดโรค แมลง และวัชพืชในดิน
                           3.  ใช้แตงโมพันธุ์ลูกผสม (F1 Hybrid)  เนื่องจากเมื่อน าเมล็ดพันธุ์ลูกผสมมาปลูกแล้ว จะให้ผลผลิตที่ดี มี
                   ความสม่ าเสมอ มีคุณภาพสูง ต้านทานโรคแมลงและทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (จิรเวฐน์,  2544) การ
                   ทดลองนี้ใช้พันธุ์กินรี 188 มีลักษณะลูกใหญ่ ยาวรี ขนาดผล 5-8 กิโลกรัม สีของเปลือกเป็นสีเขียวเข้ม เปลือกบางแต่
                   แข็งแรง สามารถเก็บผลผลิตได้นาน เนื้อแน่น แดงเข้ม หวานกรอบ ความหวาน 12-13 องศาบริกซ์ ต้านทานต่อโรค

                   แมลงได้ดี อายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วันหลังจากหยอดเมล็ด แตงโมพันธุ์นี้มีแหล่งรวบรวมในประเทศไทย เมล็ดพันธุ์
                   บริสุทธิ์ ร้อยละ 98 อัตราความงอก ร้อยละ 85 น้ าหนักเมล็ดพันธุ์ 100 เมล็ด เท่ากับ 4.38 กรัม ขนาดบรรจุ 40 กรัม
                   ต่อกระป๋อง ราคาจ าหน่าย กระป๋องละ 250 บาท การเตรียมเมล็ดพันธุ์แตงโมด้วยการแช่น้ าอุ่น 6 ชั่วโมง จากนั้นล้าง
                   น้ าสะอาดและห่อเมล็ดด้วยผ้าขนหนูที่สะอาดและเปียกพอหมาด บ่มไว้ 1  คืน จะเกิดตุ่มรากแทงออกมา จากนั้น
                   หยอดลงในถาดเพาะกล้าที่มีดินปลูกเป็นวัสดุเพาะ รดน้ าให้ชุ่ม วางไว้ในที่ร่ม โดยน าออกแดดเฉพาะช่วงเช้าของวัน
                   จนกว่าเมล็ดแตงโมจะงอก และมีอายุ 14 วัน จึงย้ายปลูกลงดินภายในแปลงทดลองย่อย
                           4. ผลิตปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) โดยการขยายเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจน รวมทั้งจุลินทรีย์ละลาย
                   ฟอสฟอรัส และจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมลงในปุ๋ยหมักใช้เวลาประมาณ 4  วัน ตามวิธีการดังนี้ ส่วนผสมในการ
                   ผลิตปุ๋ยชีวภาพ (โดยการขยายเชื้อพด.12) จ านวน 100 กิโลกรัม ประกอบด้วย ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม ร าข้าว 1

                   กิโลกรัม ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 จ านวน 1 ซอง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551ข)
                           5. วางแผนผังแปลงวิจัย ปั่นย่อยดิน ปรับหน้าดินให้เรียบ และจัดท าแปลงทดลองย่อย ขนาดแปลง กว้าง
                   3.50 เมตร ยาว 9.50 เมตร จากนั้นสุ่มต ารับการทดลอง จ านวน 6 ต ารับ ลงในแปลงวิจัย 4 ซ้ า รวม 24 แปลงทดลองย่อย
                   ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะปลูกระหว่างแถว 2 เมตร โดยในแต่ละแปลงทดลองย่อยให้ขุดหลุมปลูกขนาด
                   30x30x30  เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยชีวภาพที่ขยายเชื้อกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจน รวมทั้งจุลินทรีย์ละลาย
                   ฟอสฟอรัส และจุลินทรีย์ละลายโพแทสเซียมแล้ว และปุ๋ยคอก (มูลไก่) ตามต ารับการทดลอง เพื่อรองพื้นก่อนปลูก
                   จากนั้นย้ายกล้าพันธุ์แตงโมอายุ 14 วันหลังเพาะ จ านวน 1 ต้นต่อหลุมปลูก หลังปลูกเสร็จต้องรดน้ าทันที เพื่อให้ดินมี

                   ความชื้นพอเหมาะ
                          6. การดูแลรักษาแตงโมภายในแปลงวิจัย :  ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดน้ า  เพื่อป้องกันโรครากเน่า
                   หลังจากปลูกแล้ว 3 วัน เมื่อแตงโมมีอายุ 25-30 วัน ให้ก าจัดวัชพืชภายในแปลงวิจัย และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 14-14-21
                   ตามอัตราแนะน า (100 กิโลกรัมต่อไร่) ในทุกต ารับการทดลอง โดยใส่ฝังใต้ผิวดินห่างจากโคนต้นแตงโม ประมาณ 30
                   เซนติเมตร ท าการฉีดพ่นน้ าหมักชีวภาพสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืช อัตราเจือจาง 1:200  ฉีดพ่น 2-3  ครั้งต่อ
                   สัปดาห์ และฉีดพ่นเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดน้ า (ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
                   ก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม) อัตราเจือจาง 100 ซีซี ต่อน้ า 20 ลิตร 1 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้มีการใช้แบคทีเรีย
                   บาซิลลัสชนิดผง เบอร์ 1 ควบคุมโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย และเบอร์ 2 ควบคุมโรคในจุดใบไหม้ แอนแทรคโนส
                   (ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม) อัตราการใช้
                   จ านวน 1  ซองผสมน้ าสะอาด 20  ลิตร ฉีดพ่น 2-3  ครั้งต่อสัปดาห์ และรดน้ าตามสภาพอากาศและพิจารณาตาม

                   ความเหมาะสม และเมื่อใกล้จะเก็บเกี่ยวให้สังเกตนวลผิวของผลแตงโม และลักษณะขั้วผล งดการให้น้ าก่อนเก็บเกี่ยว
                   ประมาณ 5 วัน จึงเก็บผลผลิตแตงโม เมื่อมีอายุ 60-65 วันหลังปลูก
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20