Page 16 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                           7. การเก็บและบันทึกข้อมูล
                                1) ดินเก็บมาวิเคราะห์หาสมบัติทางเคมีทั้งก่อนและหลังด าเนินการทดลอง ได้แก่ ปริมาณ

                   อินทรียวัตถุ (%OM) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ค่าการน าไฟฟ้า (EC) ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
                                2) พืช : แตงโม เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต วัดความยาวเถา จ านวน 2 ครั้ง เมื่อมีอายุ 30 และ 40
                   วันหลังปลูก (ก่อนแตงโมออกดอก) และเก็บข้อมูลผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ ผลผลิตต่อแปลงทดลอง
                   ย่อย จ านวนผลต่อแปลงทดลองย่อย จากนั้นค านวณปริมาณผลผลิตและจ านวนผลต่อไร่ และวัดความหวานของเนื้อ
                   แตงโม (%Brix)
                                3) เก็บข้อมูลทางเศรษฐกิจ เพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในแต่ละต ารับ
                                4) เก็บข้อมูลปริมาณน้ าฝนและอุณหภูมิอากาศตลอดระยะเวลาที่ท าการทดลอง

                         2.3 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (Analysis of variance) และเปรียบเทียบ
                   ความแตกต่างของข้อมูลโดยใช้วิธี Duncan’s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 ใช้หลักการ
                   วิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis  of  Variance  in  Randomized  Complete
                   Block Design : ANOVA in RCBD) และ Coefficiency of Variance (% C.V.) รวมทั้งเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ

                   ข้อมูลในทุกต ารับการทดลอง โดยใช้วิธี Ducan’s New Multiple Range Test (DMRT) จากนั้นแปลผลที่ได้จากการ
                   วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สรุปผล และเขียนรายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์

                                                      ผลการวิจัยและวิจารณ์


                   1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินก่อนและหลังการทดลอง ปี 2562-2563

                         1.1  ความเป็นกรดเป็นด่าง  (pH) ของดินก่อนการทดลองเท่ากับ 4.9  (กรดจัด) และดินหลังการทดลอง
                   ปีที่ 1 (2562) พบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 5.75-5.95 (กรดปานกลาง) ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนปีที่ 2 (2563)
                   พบว่า ดินหลังการทดลองมีค่าอยู่ในช่วง 6.35-6.70 (กรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง) และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (ตาราง
                   ที่ 1) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแต่ละต ารับใส่ปุ๋ยตามวิธีการแตกต่างกัน ซึ่งปุ๋ยแต่ละชนิดมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างแตกต่าง
                   กัน จึงอาจเป็นผลให้ดินหลังการทดลองมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างแตกต่างกันได้

                         1.2 ค่าการน าไฟฟ้า (EC) ของดินก่อนการทดลอง มีค่าเท่ากับ 0.06 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ซึ่งมีค่าต่ าและแสดง
                   ว่าดินไม่เค็ม ส่วนดินหลังการทดลองปีที่ 1 (2562) พบว่า มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ กล่าวคือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพ (พด.

                   12) 0.6 ตันต่อไร่ ร่วมกับมูลไก่ 1.8 ตันต่อไร่ (ต ารับที่ 4) ท าให้การน าไฟฟ้าของดินหลังการทดลองมีค่าสูงสุด เท่ากับ
                   0.038 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร (ตารางที่ 1) ทั้งนี้เนื่องจากต ารับดังกล่าวมีการใส่มูลไก่ในปริมาณมากถึง 1.8 ตันต่อไร่ ซึ่ง
                   มูลไก่มีค่าระดับความเค็มเล็กน้อย เท่ากับ 3.21 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร จึงอาจเป็นผลให้ดินหลังการทดลองปีที่ 1 มีค่า
                   การน าไฟฟ้าสูงสุด และสูงกว่าต ารับอื่นๆ ส าหรับดินหลังการทดลองปีที่ 2 (2563) พบว่า ทุกต ารับมีค่าการน าไฟฟ้า
                   ไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0.033-0.043 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร(ตารางที่ 1)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21