Page 10 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                        การตรวจเอกสาร


                   1. แตงโม (Watermelon) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrulluslanatus จัดว่าเป็นพืชในตระกูลแตง (Cucurbitaceae)
                   และเป็นพืชที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย ปลูกได้ตลอดปีและทั่วทุกภาคของประเทศไทย
                   พื้นที่การปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย
                   ซึ่งมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ระหว่าง 5.0-7.5 มีระบายน้ าได้ดี (สุรพงษ์ และ สุเทวี, 2536; เฉลิมเกียรติ

                   และ เกตุอร,  ม.ป.ป.)  แต่ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ทั่วทุกภาคของประเทศ สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
                   ระหว่าง 5.5-6.8 สภาพแปลงควรระบายน้ าได้ดี ในการเตรียมพื้นที่ปลูกแตงโม ควรมีการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี
                   โดยใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 ตันต่อไร่  ถ้า pH ต่ ากว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาว อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และควรใส่ก่อน
                   การปลูกอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังการนั้นให้ไถพรวนคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดิน โดยไถพรวนดินให้หน้าดินร่วนโปร่ง
                   ลึกเล็กน้อย เพื่อให้แตงโมหยั่งรากลงได้ดี โดยไถดะ 2 ครั้ง และไถพรวนดินอีก 3 ครั้ง ตากแดดทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อฆ่า
                   เชื้อโรคในดิน การปลูกแตงโมในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม หรือหลังฤดูท านาอายุเก็บเกี่ยว 65-70 วัน การให้ผล
                   ผลิต สามารถทยอยเก็บผลได้เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม โดยมีผลผลิตรวมประมาณ 3-4 ตันต่อไร่ (ประจักษ์,
                   2555) นอกจากนี้แล้วแตงโมยังเป็นพืชที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีน้ าเป็นองค์ประกอบ
                   ปริมาณมาก มีแคลอรีต่ าอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น ธาตุโพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิต
                   วิตามินซีช่วยป้องกันไข้หวัด โรคเลือดออกตามไรฟันแตงโมมีคุณสมบัติเย็น รสชาติดี หวาน กรอบ อร่อยชื่นใจ

                   สามารถรับประทานเป็นผลไม้สด ท าเป็นน้ าผลไม้ เพื่อแก้กระหายน้ า-คลายร้อน ลดอาการไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลใน
                   ปาก ในเนื้อแตงโมมีสารส าคัญสีแดงที่เรียกว่าไลโคปีน  (Lycopene)  เป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์
                   (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งและ
                   โรคหัวใจอีกทั้งเบต้าแคโรทีน (B-Carotene) ที่มีในเนื้อแตงโม เป็นสารที่ร่างกายใช้เพื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินเอมีผลต่อ
                   ระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารระบบทางเดินหายใจและระบบขับปัสสาวะ ช่วยท าให้
                   ผิวพรรณและผมแข็งแรงช่วยเรื่องการมองเห็นอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสารส าคัญอีกชนิดหนึ่งคือ ซิทรูไลน์ (Citruline)
                   ช่วยขยายเส้นเลือด ซึ่งดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน เป็นประโยชน์ส าหรับคนเป็นโรคอ้วนและเบาหวานโดยจะพบสารซิท

                   รูไลน์ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อฉะนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนขาวๆของเปลือกติดไปด้วยจึงได้ประโยชน์ที่
                   ดีมากกว่า (ปวีณา, 2555)
                         1.1 สภาพภูมิอากาศปริมาณน้ าฝน ฤดูกาลปลูก แตงโมสามารถงอกได้ในสภาพอุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง
                   15-35 องศาเซลเซียส (ชยพร, 2549) แต่ไม่ควรต่ ากว่า 15 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิต่ ากว่า 15 องศาเซลเซียส
                   เมล็ดแตงโมจะไม่งอก (เฉลิมเกียรติ และ เกตุอร, ม.ป.ป.) ส่วนนิรนาม (ม.ป.ป.ก) ได้แนะน าว่า ฤดูหนาวเป็นฤดูที่มี
                   อุณหภูมิเหมาะสมในการเจริญเติบโตของแตงโม ท าให้ได้ผลผลิตแตงโมที่มีรสชาติหวานจัด แตงโมเป็นพืชที่ไม่ชอบฝน
                   ตกชุก ซึ่งแตงโมมีปริมาณการใช้น้ าเฉลี่ย (ET) (Consumptive use of Watermelon) และมีค่าสัมประสิทธิ์การใช้
                   น้ าของแตงโม เฉลี่ย (The  crop  coefficientof  Watermelon) เปรียบเทียบกับพืชอ้างอิงหญ้านวลน้อย เท่ากับ
                   5.13 มิลลิเมตรต่อวัน และ 1.27 ตามล าดับ (ไพรัตน์, 2546) เกษตรกรจึงนิยมปลูกในช่วงฤดูแล้งและฤดูหนาว (หลัง

                   เก็บเกี่ยวข้าว) การปลูกแตงโมสามารถปลูกได้ตั้งแต่พฤศจิกายน-มีนาคม โดยเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายในเดือนมิถุนายน
                   ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝน ส่วนการปลูกในฤดูฝนนั้นค่อนข้างยากล าบาก เนื่องจากต้นแตงโมไม่ชอบฝนชุก หากเกิดน้ าท่วม
                   ขัง เถาจะตายด้วยโรคเถาเหี่ยวเป็นส่วนใหญ่ เกิดโรคทางใบมาก ผลแตงโมจะเน่าเสียง่าย และรสชาติไม่หวานจัด
                   นอกจากนี้แล้ว ประจักษ์ (2555) ได้แนะน าว่า ฤดูกาลปลูกแตงโม สามารถท าได้ 3 รอบต่อปี คือ รอบแรก แตงโมต้น
                   ฝน ปลูกช่วงเดือนเมษายน รอบที่สอง แตงโมปลายฝน ปลูกเดือนสิงหาคม-ตุลาคม และรอบที่สาม แตงโมน้ าหมอก
                   ปลูกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ (หลังฤดูท านา)อายุเก็บเกี่ยว 65-70 วัน การให้ผลผลิต สามารถทยอยเก็บผลได้เดือน
                   มิถุนายนจนถึงเดือนเมษายน โดยมีผลผลิตรวมประมาณ 3-4 ตัน/ไร่
                         1.2  พันธุ์แตงโมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่มากมายหลายพันธุ์ ทั้งที่เป็นพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ผสมปล่อยหรือ

                   ผสมเปิด และพันธุ์ลูกผสม (F1Hybrid) (สุรพงษ์ และ สุเทวี,2536)  ปัจจุบันมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์แตงโม
                   ลูกผสมสูงมาก เนื่องจากผลผลิตที่ได้รับจะมีความสม่ าเสมอ ให้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพสูง ต้านทานโรคแมลง และทน
                   ต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (จิรเวฐน์, 2544) พันธุ์แตงโม แบ่งเป็น 3 พันธุ์หลัก ได้แก่ พันธุ์กินเมล็ด พันธุ์ไม่มี
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15