Page 12 - ผลของปุ๋ยชีวภาพ (พด.12) ร่วมกับมูลไก่ต่อผลผลิตและคุณภาพแตงโมหลังนาข้าว Effect of Bio-Fertilizer (LDD.12) and chicken manure to yield and quality of watermelon planted after rice.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                   ต่อเฮกตาร์ จะเกิดผลชัดเจนต่อการปลูกพืชผักในรอบการผลิตที่ 4 เป็นต้นไป และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร
                   ในดินจะเกิดผลดีต่อพืชอายุยาว (พืชผักกินผล) มากกว่าพืชอายุสั้น (ผักกินใบ) นอกจากนี้แล้วการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ช่วย

                   ให้พืชตอบสนองได้ดี  ไม่ค่อยเกิดการเป็นพิษต่อพืช และเป็นวัสดุที่สามารถแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) ได้ค่อนข้าง
                   สูง ช่วยให้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูปประจุบวกบางชนิดถูกดูดยึด ไม่ให้สูญเสียไป และพืชสามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้  ซึ่ง
                   เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมี และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารมากขึ้น รวมทั้งอ านวยประโยชน์และ
                   ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชให้ดีขึ้น (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2544 ;  ส านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,
                   2551) ซึ่งสอดคล้อง วรรณา และ ศิวพร (2555) พบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพ อัตรา 600 กิโลกรัมต่อไร่  ให้ผลผลิตรวม
                   ของถั่วฝักยาวมากที่สุด ในขณะที่ นุกูล และ อภิพรรณ (2546) พบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพ (Biophoska) และปุ๋ยเคมี
                   ทริปเปิลฟอสเฟต ท าให้ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ในท านองเดียวกับงานวิจัยของ ธนพร และ อานุภาพ (2549) พบว่า
                   การใช้ปุ๋ยชีวภาพ 560 มิลลิลิตรต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 75 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้กระเจี๊ยวเขียวพันธุ์จูบิลี่ 047 มี
                   จ านวนดอกต่อต้นมากที่สุด นอกจากนี้  วรารัตน์ (2555) พบว่า การใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ขยายเชื้อ พด.12) อัตรา 300
                   กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 5.5 กิโลกรัม

                   ต่อไร่ ข้าวโพดหวานมีการเจริญเติบโตและผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด คือ 3,209  กิโลกรัมต่อไร่  และให้ผลตอบแทนทาง
                   เศรษฐกิจมากที่สุด คือ ได้ก าไรสุทธิ 20,884 บาทต่อไร่ ส่วน พิสมัย และ เพชรราช (2556) พบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
                   อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี ¾ ของอัตราแนะน า ให้ผล ผลิตถั่วเหลืองฝักสดเฉลี่ย 2 ปีสูงสุด คือ 1,340
                   กิโลกรัมต่อไร่

                   4. ปุ๋ยคอกและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                         ปุ๋ยคอก หมายถึง มูลซึ่งสัตว์ขับถ่ายและสะสมอยู่ตามพื้นคอก ตลอดจนมูลและน้ าล้างคอกที่รวมอยู่ในสระเก็บ
                   น้ าทิ้ง มูลสัตว์ที่รวบรวมได้มากพอที่จะใช้เป็นปุ๋ย ได้แก่ มูลโค กระบือ สุกร และสัตว์ปีก ในมูลสัตว์ดังกล่าวมีฟาง
                   วัสดุรองคอก เศษพืช เศษอาหารและปัสสาวะรวมกัน (ยงยุทธ และคณะ, 2554) ปุ๋ยคอกส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุง
                   สมบัติทางกายภาพของดิน ท าให้ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ดินร่วนซุย ระบายน้ า และถ่ายเทอากาศได้ดี ราก
                   พืชจึงดูดซับธาตุอาหารได้ง่าย ช่วยให้ปุ๋ยเคมีเป็นประโยชน์มากขึ้น (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2544 ;  ทัศนีย์

                   และ ประทีป, 2550) ซึ่งสอดคล้องกับงานทดลองของ นวลปรางค์ และคณะ (2549) พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา
                   สูง จะท าให้ขนาดของผลฝรั่งใหญ่ขึ้นและมีความหวานมากขึ้น อีกทั้งยังมีผลต่อโครงสร้างของดิน ท าให้ดินมีสมบัติ
                   ทางเคมีดีขึ้น และพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กรัมต่อต้น ทุกๆ 20 วัน ท าให้ฝรั่งมีขนาดผลใหญ่
                   ที่สุด (8.65 เซนติเมตร) และมีความหวานมากที่สุด (8.89 องศาบริกซ์) นอกจากนี้ รติกร (2551) พบว่า ใส่ปุ๋ยคอก
                   อัตรา 2 ตันต่อไร่ เพื่อผลิตถั่วเหลืองฝักสดปลอดสารพิษ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด คือ 4,010.66 บาทต่อไร่
                   แต่อย่างไร การใช้ปุ๋ยอัตราที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ควรค านึงถึงไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีหรือ
                   การใช้ปุ๋ยทั้งสองชนิดร่วมกัน สอดคล้องกับงานวิจัยของ Kernoon  และ Prasittikhet (2006) พบว่า การใช้มูลโค

                   9.375  ตันต่อเฮกตาร์ ได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะน า (ปุ๋ยไนโตรเจน
                   ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เท่ากับ 150,  75  และ 150  กิโลกรัมของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่อ
                   เฮกตาร์ตามล าดับ) อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี ย่อมท าให้ผลผลิตของพืชที่ได้รับสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี
                   เพียงอย่างเดียว (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ด ารงค์ (2551) พบว่า การใช้ปุ๋ย
                   คอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยเกล็ดเป็นอาหารเสริมทางใบ ให้ผลผลิตสูงสุด 3,753.60 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเทียบกับการใช้
                   ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยเกล็ด โดยท าให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 10,880.30  บาทต่อไร่ หรือร้อยละ 42.75  และมีข้อเสนอแนะว่า
                   การปลูกแตงโม ควรใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี เพราะปุ๋ยหมัก หาได้ยาก มีราคาสูงกว่าปุ๋ยคอก และเมื่อใช้ปุ๋ยหมัก
                   ปริมาณมาก จะท าให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี ในท านองเดียวกัน อาทิตย์
                   และคณะ (2538) พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตันต่อไร่เพียงอย่างเดียวให้ปริมาณธาตุอาหารน้อย ท าให้ไม่เพียงพอ
                   ต่อความต้องการของแตงโม โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกที่เป็นดินทราย ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า แต่เมื่อใช้ปุ๋ยคอก

                   อัตรา 2  ตันต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15  อัตรา 30  กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้แตงโมมีการเจริญเติบโตดีและ
                   ให้ผลผลิตแตงโมสูงสุด 3,104  กิโลกรัมต่อไร่ เช่นเดียวกัน ปริญญาวดี และคณะ (2552) พบว่า อัตราส่วนปุ๋ยคอก
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17