Page 20 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           9

                          รูปแบบการชะล้างพังทลายของดินที่สำคัญในประเทศไทย

                          ลักษณะการชะล้างพังทลายของดินไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดนั้น มีสาเหตุมาจากความรุนแรงของ
                   เม็ดฝนที่ตกกระทบ และจากแรงของน้ำไหลบ่าหน้าดิน อันเกิดจากดินไม่สามารถรับการซึมของน้ำฝนได้

                   หมด และถ้าฝนตกหนักมากอาจเกิดการเคลื่อนและการเลื่อนไหลของมวลดินโดยแรงดึงดูดของโลกและ

                   แรงดันของน้ำใต้ผิวดิน แม้ว่าการเลื่อนไหลของดินจะเป็นการพังทลายของดินที่มีปริมาณมาก แต่มักไม่เกิด
                   บ่อยนัก การพังทลายของดินส่วนใหญ่จึงมักเกิดจากน้ำไหลบ่าหน้าดินเป็นสำคัญ และมักจะเกิดขึ้นเสมอ

                   บนพื้นที่ลาดเขา ถ้าหากว่าฝนตกหนัก พลังงานของน้ำไหลบ่าหน้าดินก็จะมีเพียงการชะล้างพังทลายของ

                   หน้าดินและพัดพาลงสู่ที่ต่ำ แต่จะตกตะกอนในตอนใดตอนหนึ่งของลาดเขาโดยไม่พัดพาลงสู่ลำธาร ตะกอน
                   ที่ตกทับถมก่อนถึงร่องลำธารก็จะเป็นแหล่งของดินที่จะถูกพัดพาสู่ที่ต่ำลงไปอีกจากฝนตกในคราวต่อ ๆ ไป

                   ยกเว้นเสียว่าไม่มีฝนตกตามมาในเวลาใกล้เคียงกัน จนพืชพรรณขึ้นปกคลุมอย่างดี ดินที่ตกตะกอนดังกล่าว
                   จะได้รับการป้องกันจากพลังน้ำไหลบ่าหน้าดินได้ดียิ่งขึ้น รูปแบบการชะล้างพังทลายของดินที่สำคัญ ๆ

                   (ยุทธชัย และคณะ, 2547) ในประเทศไทยมีดังนี้

                          1. การชะล้างพังทลายแบบกระเด็น (Splash erosion) การตกกระทบของเม็ดฝนติดต่อกันจาก
                   น้ำฝนนับหมื่นนับล้านเม็ดนั้น จะทำให้อนุภาคดินบนผิวหน้าแตกกระจาย และกระเด็นออกไปจากตำแหน่ง

                   เดิม โดยเฉพาะจะเกิดอย่างรุนแรงบนผิวดินที่ไม่มีสิ่งปกคลุม การชะล้างพังทลายชนิดนี้ถ้าเกิดในที่ราบ
                   เม็ดดินก็จะไปไม่ได้ไกลนัก แต่ถ้าเกิดบนพื้นที่ลาดเขาจะถูกน้ำไหลบ่าหน้าดินพัดพาไป อย่างไร

                   ก็ตาม การกัดกร่อนในลักษณะประเด็นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการสูญเสียดินที่ค่อยเป็นค่อยไป และมักไม่ค่อย

                   มีคนสนใจกันมากนัก
                          2 .  การชะล้างพังทลายแบบผิวผ่าน (Sheet erosion) นับเป็นแหล่งดินตะกอนที่จะถูก

                   พัดพาเคลื่อนที่ออกไปจากพื้นที่ลาดเขาโดยแรงน้ำไหลบ่าหน้าดินซึ่งไหลเอ่อเหนือผิวดินเป็นแผ่นบาง ๆ

                   อัตราการถูกพัดพาลงสู่ที่ต่ำขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นน้ำไหลบ่าหน้าดินเป็นสำคัญ ขนาด รูปร่าง และ
                   ความหนาของตะกอนก็มีส่วนอยู่มากในการที่จะถูกพัดพาไปได้มากหรือน้อย

                          การกัดกร่อนในลักษณะนี้เห็นได้ยาก และชาวไร่มักไม่ค่อยได้สังเกต การกัดกร่อนแบบนี้ให้เสีย

                   หน้าดินที่มีสีดำนับเป็นส่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นอย่างมาก เพราะมีอินทรียวัตถุสูง
                   การปล่อยให้มีการกัดกร่อนเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ จะทำให้ผลผลิตของพืชลดลง ในขณะเดียวกันก็ต้องลงทุน

                   หาปุ๋ยมาใส่ทดแทนมากขึ้น
                          3. การชะล้างพังทลายแบบร่องริ้ว (Rill erosion) เกิดจากน้ำไหลบ่าหน้าดินร่วมกันเป็นทางน้ำ

                   เล็ก ๆ แล้วกัดเซาะลงไปในเนื้อดิน แต่เนื่องจากความคงทนของดินแตกต่างกันไป ประกอบกับแผ่นน้ำไหล

                   บ่าหน้าดินยังไม่หนามากนัก การกัดกร่อนจึงเป็นไปในลักษณะร่องตื้น ๆ เล็ก ๆ กระจายทั่วผิวหน้าดิน ปกติ
                   ร่องเล็ก ๆ ดังกล่าวจะมีแนวเกือบเป็นเส้นตรงยาวติดต่อกันไปและขนานกันไปเป็นริ้ว ๆ ร่องดังกล่าวนี้ตื้น

                   จนสามารถปรับให้หายไปได้โดยการไถพรวนแบบธรรมดา ๆ
                          ความรุนแรงของกระบวนการกัดชะ และกระบวนการเคลื่อนย้ายในกรณีที่เกิดการชะล้างพังทลาย

                   แบบนี้ มีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดในลักษณะการชะล้างพังทลายแบบแผ่น การชะล้างพังทลายแบบร่องริ้ว
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25