Page 21 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
10
นี้ หน้าดินบางส่วนจะสูญเสียไป แต่เมื่อใดเกิดร่องริ้วแล้วและไม่มีการปรับผิวหน้าดินใหม่ น้ำในร่องริ้วก็จะ
กัดกร่อนร่องริ้วนี้ให้ลึกและกว้างจนถึงชั้นล่างได้อย่างรวดเร็ว
4. การชะล้างพังทลายแบบร่องลึก (Gully erosion) เกิดจากหน้าดินไม่ได้มีการป้องกัน หรือ
ปรับปรุงหน้าดินที่มีลักษณะการชะล้างพังทลายแบบร่องริ้ว ปล่อยให้น้ำฝนและน้ำไหลบ่าหน้าดิน
กัดกร่อนลึกลงไปเรื่อย ๆ ร่องริ้วจึงขยายตัวขึ้นเป็นร่องลึกลงไปถึงดินชั้นล่าง การเกิดการชะล้างพังทลาย
ของดินแบบร่องลึกนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำไหลในร่องทั้งในลักษณะการกัดชะและการเคลื่อนย้ายดิน รูปตัด
ของร่องลึกนี้มักเป็นรูปตัว U หรือ ตัว V แล้วแต่ชนิดของดิน การชะล้างพังทลายแบบร่องลึกนี้ ยากที่จะ
ปรับหน้าดินใหม่ด้วยเครื่องไถพรวนชนิดใด ต้องเสียเวลาและลงทุนมากในการที่จะควบคุมให้กลับสู่สภาพที่
ใช้ประโยชน์ได้ดีเช่นเดิม
5. การชะล้างพังทลายแบบเลื่อนไหล (Mass soil movement) เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดินหรือ
หินบนที่ที่มีความลาดชันสูง เนื่องจากแรงถ่วงของโลก และความแตกต่างของความชื้นของมวลสารชนิด
เดียวกันหรือคนละชนิดกัน การพังทลายแบบนี้อาจเกิดตามธรรมชาติได้ แต่กิจกรรมของมนุษย์มักเป็น
ตัวเร่งและก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินแบบนี้มากกว่าธรรมชาติ
6. การชะล้างพังทลายโดยธารน้ำ (Stream-bank erosion หรือ channel erosion) เกิดขึ้น
เพราะลำน้ำค่อนข้างใหญ่นั้นจะมีน้ำไหลผ่านในร่องน้ำเป็นปริมาณมาก และเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะ
ภายหลังฝนตกหนัก พลังน้ำไหลตามร่องหรือลำน้ำนี้จะกัดชะดินชายฝั่งซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับผิวหน้าดิน ทำให้
เกิดชะโงกง้ำ ใต้ผิวน้ำลึกเข้าไปในฝั่งจนดินบนเหนือระดับน้ำไม่มีฐานค้ำยันที่แข็งแรงเพียงพอก็จะไหลเลื่อน
และพังลงมาสู่ท้องลำธารได้ การพังทลายแบบนี้จะมีมากบริเวณลำธารหักโค้งหรือลำน้ำเปลี่ยนทิศทางการ
ไหล ซึ่งในบางแห่งก็ทำให้เสียทั้งที่ทำกินและที่อยู่อาศัยบริเวณสองฝั่งลำน้ำได้มากทีเดียว
ภาพที่ 1 รูปแบบการชะล้างพังทลายของดิน
ที่มา: Daniel (2014)