Page 19 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
อิทธิพลของลักษณะดิน
ดินแต่ละชนิดจะถูกชะล้างพังทลายได้ยากง่ายแตกต่างกันไป แม้ว่าจะถูกชะและถูกเคลื่อนย้ายด้วย
แรงปะทะของน้ำฝน และพลังเคลื่อนย้ายของน้ำไหลบ่าหน้าดินในอัตราและปริมาณเดียวกัน บนความลาด
เทและพืชพรรณที่คลุมผิวหน้าดินหนาแน่นเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสมบัติของดินที่
สำคัญ
1) ความคงทนต่อการถูกกัดเซาะและเคลื่อนย้าย เช่น อนุภาคของดินเหนียวจะยากต่อการถูกกัด
ชะมากกว่าอนุภาคดินทราย แต่ก็จะง่ายต่อการที่ถูกพัดพาเคลื่อนย้ายไปมากกว่าดินทราย
2) อัตราการซึมน้ำของดิน ความสามารถในการเปียกน้ำของดิน และสมรรถนะการอุ้มน้ำสูงสุดของ
ดิน การเคลื่อนย้ายของน้ำจากผิวดินลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไป หรือที่เรียกกันว่า การซึมผ่านผิวดิน
(Infiltration)
น้ำฝนที่ตกลงสู่ผิวดินนั้นส่วนหนึ่งจะต้องซึมผ่านผิวดินลงสู่ชั้นที่ลึกลงไป น้ำไหลบ่า
หน้าดินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อดินเปียกเต็มที่ และสมรรถนะในการยอมให้น้ำซึมผ่านผิวดินเริ่มคงที่ ถ้าหากว่า
ยังมีฝนตกตามมาเรื่อยๆ อัตราการซึมผ่านผิวดินของน้ำ (Infiltration rate) แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติ
ทางกายภาพของดิน อันได้แก่ ปริมาณ และขนาดของช่องว่างในดิน ดินที่มีโครงสร้างจับตัวกันหลวมๆ และ
รูปร่างของเม็ดดินค่อนข้างกลม (Granular) นั้น ถ้าหากมีอนุภาคของดินที่ละเอียดจับตัวคลุกเคล้ากันเป็น
กลุ่มก้อน มักมีความสามารถดูดซับน้ำได้ดีพอสมควร ดินชนิดนี้จะมีความสามารถต้านทานต่ออำนาจ
การชะล้างพังทลายได้สูง ถ้าเม็ดดินไม่ถูกทำให้แตกโดยแรงตกระทบของเม็ดฝนโดยตรงเพราะโอกาสที่จะ
เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดินบนดินชนิดนี้มีน้อย และมักมีอัตราการไหลบ่าหน้าผิวดินต่ำ
ลักษณะที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งของอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินก็คือ จะเป็นไปอย่างรวดเร็วในดิน
ที่ค่อนข้างแห้ง และลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อดินเริ่มเปียก ในที่สุดก็จะเข้าสู่อัตราการซึมคงที่ ซึ่งจะกินเวลา
มากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อดิน และโครงสร้างของดินเป็นสำคัญ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินก็เป็น
ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการนี้ เนื่องจากความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุด (Maximum water
holding capacity) ของมันเองสูง และมักจะเป็นตัวเชื่อมปรับปรุงให้ดินมีโครงสร้างจับตัวกันแบบ
granular ลักษณะดังกล่าวนี้จะพบในดินที่มีการไถพรวนหญ้า และหญ้าผสมพืชตระกูลถั่ว กลบดิน
คลุกเคล้ากัน
3) ความลึกของดินชั้นบน ดินที่บริเวณผิวหน้าดินถูกกัดชะไปนั้นมักจะง่ายต่อการถูก
ชะล้างพังทลายของดิน ทั้งนี้เพราะหน้าดินซึ่งเคยเป็นเนื้อดินร่วนซุย โครงสร้างดีดและอินทรียวัตถุสูง ได้ถูก
ชะล้างไปจนหมดแล้ว ดินที่เหลืออยู่จึงจะมีสมรรถนะซึมซาบน้ำได้น้อยกว่าที่เคยเป็น ทำให้น้ำไหลบ่าดิน
เกิดขึ้นได้ง่ายและมาก อัตราการชะล้างพังทลายจึงเป็นไปไห้ในอัตราสูง
ปกติการชะล้างพังทลายของดินรูปแบบต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ได้เกิดขึ้นอยู่เสมอในธรรมชาติ ซึ่งเป็น
กระบวนการหนึ่งของการปรับระดับผิวโลก แต่มักเป็นไปในอัตราที่ต่ำและเป็นไปอย่าง
ช้าๆ และผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าวตามธรรมชาตินี้มีผลดีต่อมวลมนุษย์มากกว่าผลเสีย
แต่ถ้าหากว่ากระบวนการชะล้างพังทลายนี้ถูกเร่งโดยการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยเหตุผลประการใด
ก็ตาม ผลเสียหายจะเริ่มตามมาและเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่มีมาตรการควบคุมหรือป้องกัน