Page 16 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
5
หายใจส่วนล่างและถุงลมปอดได้จะส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจโรคปอดต่างๆ เกิดการระคายเคืองและ
ทำลายเยื่อหุ้มปอด หากได้รับในปริมาณมากและเป็นเวลานานจะเกิดการสะสม ทำให้เกิดพังผืดและเป็น
แผลได้ การทำงานของจะปอดลดลง (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, ม.ป.ป.)
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม
ปัญหาฝุ่นละอองอันเกิดจากการเผาในที่โล่งถือเป็นปัญหาสำคัญ ควรมีมาตรการป้องกันและแก้ไข
เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และแก้ไขฟื้นฟู พื้นที่เกษตรกรรม โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการป้องกันไฟป่าและแก้ไขปัญหาหมอกควันเชิงรุกในพื้นที่อย่างรอบด้าน
ด้วยมาตรการ “4 พื้นที่ 5 มาตรการบริหารจัดการ” ดังนี้
มาตรการเชิงพื้นที่ แบ่งเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่
(1) พื้นที่ป่าสงวน/อนุรักษ์ ให้จัดกำลังเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการลาดตระเวน เฝ้าระวังไฟป่า
และจัดทำแนวกันไฟ รวมถึงกำหนดกติกาชุมชนห้ามเผาฝ่า และประกาศเขตพื้นที่ห้ามเผา
(2) พื้นที่เกษตรกรรม ควบคุมการเผาให้เป็นไปตามช่วงเวลาที่แต่ละพื้นที่กำหนด รวมถึงรณรงค์
การไถกลบตอซัง และส่งเสริมการบริหารจัดการเศษวัสดุการเกษตรแทนการเผา อีกทั้งจัดอาสาสมัครเฝ้า
ระวังการลักลอบเผาในพื้นที่เกษตร
(3) พื้นที่ชุมชน/เมือง จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดกติกาชุมชนโดยใช้
กลไกประชารัฐในการป้องกันและเฝ้าระวังการเผา พร้อมจัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล/หมู่บ้าน ชี้แจง
มาตรการป้องกันไฟป่าและแก้ไขปัญหาหมอกควัน
(4) พื้นที่ริมทาง ให้จัดกำลังลาดตระเวรและเฝ้าระวังการเผา พร้อมตัดหญ้า กำจัดเศษวัสดุ และ
ใบไม้แห้งพื้นที่ริมทางสำหรับเป็นแนวกันไฟ
มาตรการบริหารจัดการ 5 มาตรการ ได้แก่
(1) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ โดยจัดตั้งศูนย์บัญชาเหตุการณ์จังหวัดและอำเภอ เพื่อการ
อำนวยการ สั่งการ ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันมีเอกภาพ
(2) การสร้างความตระหนักและส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยประชาสัมพันธ์ผลกระทบจากไฟป่าและ
หมอกควัน รวมถึงมาตรการห้ามเผาป่าและพื้นที่การเกษตร อีกทั้งจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการมีส่วน
ร่วมป้องกันไฟป่าและหมอกควัน
(3) การลดปริมาณเชื้อเพลิง โดยการจัดทำแนวกันไฟและควบคุมการเผา พร้อมส่งเสริมการใช้สาร
หมักชีวภาพย่อยสลายตอซัง ส่งเสริมการแปรรูปเศษวัสดุเพื่อใช้ประโยชน์อื่นทดแทนการเผา
(4) การบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยจับกุมดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดกับผู้ลักลอบ
เผาในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ริมทาง
(5) จิตอาสาประชารัฐ บูรณาการทุกภาคส่วนร่วมป้องกันไฟป่าและแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่
ด้วยการกำหนดกติกาห้ามเผา หรือจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหาไฟป่า (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2564)