Page 15 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 15
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
1. การเผาเศษพืชเศษวัสดุภาคการเกษตร
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย
มันสำปะหลัง เป็นต้น ในการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง สิ่งสำคัญที่สุดคือการเตรียมดินที่จะทำการ
เพาะปลูก ซึ่งจะต้องมีการถากถางพื้นที่เพื่อกำจัดเศษพืช โดยวิธีการที่ง่าย สะดวก และประหยัด สำหรับ
เกษตรกรที่นิยมใช้กันมาก คือ การเผา
2. การเผาขยะมูลฝอยจากชุมชน
3. ไฟป่า
มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเคมีเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็น
เวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น
ไฟไหม้ป่า ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว เป็นต้น ในการเผาไหม้แต่ละครั้งอาจทำให้
เกิด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่นละออง ดังนี้
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide : CO) เป็นก๊าซเกิดจากการเผาไหม้ที่การระบาย
อากาศไม่เพียงพอ ไม่มีสีรสและกลิ่น เบากว่าอากาศทั่วไปเล็กน้อย เมื่อหายใจเข้าไปก๊าซนี้จะรวมตัว
ฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าออกซิเจนถึง 3624-3674 เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซี
ฮีโมโกลบิน (Carboxyhaemoglobin : CoHb) ซึ่งลดความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนำออกซิเจน
จากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ โดยทั่วไป
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ทำหน้าที่กักความร้อนไม่ให้
2
ออกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงทำให้โลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น ก๊าซ CO จะถูกปลดปล่อยผ่านกิจกรรมของ
2
มนุษย์โดยตรง เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล และการปลดปล่อยจาก
กระบวนการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ เช่น การหายใจของสิ่งมีชีวิต และการระเบิดของภูเขาไฟ เป็นต้น
โดยก๊าซจะสามารถเข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ จะเกิดอาการพิษเฉียบพลันได้ ในกรณีที่ก๊าซแทนที่
ออกซิเจนในบริเวณที่จำกัด ทำให้ปริมารออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจ ถ้าสูดดมเข้าสู่ร่างกายใน
ปริมาณสูงมากร่างกายจะสนองโดยเริ่มจากการหายใจลึกมากกว่าเดิม หายใจติดขัด หายใจลำบาก จนถึง
อาการขาดออกซิเจน คือปวดศีรษะ วิงเวียน ความดันสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ถ้าความเข้มข้นสูง
ถึงร้อยละ 12 หรือมากกว่าจะหมดสติภายใน 1-2 นาที
ฝุ่นละออง ที่อยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเรา มีขนาดตั้งแต่ 0.002 ไมครอน (มองด้วยตาเปล่าไม่
เห็น) ไปจนถึงฝุ่นที่ขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน (ฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่ามีขนาดตั้งแต่50ไมครอนขึ้นไป)
ที่เกิดการรวมตัวด้วยปฏิกิริยาทางฟิสิกส์ เคมี หรือปฏิกิริยาเคมีแสง (Photochemical reaction) ฝุ่น
ละอองที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการรวมตัวฝุ่นละออง เช่น ควัน (Smoke) ฟูม
(fume) หมอกน้ำค้าง (mist) เป็นต้น ฝุ่นที่ถูกสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอันตรายต่อ
สุขภาพ รบกวนการมองเห็น และทำให้สิ่งต่างๆ สกปรกเสียหายได้ โดยฝุ่นขนาดเล็กที่เข้าสู่ระบบทางเดิน