Page 18 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           7

                   เมื่อฝนตกหนัก และหน้าดินว่างเปล่าปราศจากสิ่งปกคลุม หรือในช่วงที่พืชพรรณเพิ่งเริ่มงอกหรือเพิ่งเริ่มตั้ง

                   ตัวได้
                          2) อิทธิพลของการเปลี่ยนอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน

                   หรือระหว่างฤดูกาลนั้น มีผลต่อการปรับตัวของโครงสร้างดิน ทำให้การจับตัวกันของอนุภาคดินมีแรงยึดกัน

                   น้อยลง
                          อิทธิพลของสภาพภูมิประเทศ

                          1) ความลาดเทของพื้นที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในกระบวนการชะล้างพังทลายของดิน โดยทั่วไป

                   แล้วเมื่อความลาดเทมากขึ้นอัตราการชะล้างพังทลายของดินจะมากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะพื้นที่
                   ลาดชันนั้นมักทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดินได้มาก เพราะดินมีโอกาสเก็บกักน้ำฝนที่ตกลงมาได้น้อย ทำให้มี

                   การไหลบ่าหน้าดินรวดเร็วและรุนแรง บนพื้นที่ลาดเทมากๆ น้ำจะไหลบ่าหน้าดินเกิดได้รวดเร็ว พลังน้ำจะ
                   กัดกร่อน และพัดพาดินที่ถูกชะล้างลงสู่ที่ต่ำได้มาก อย่างไรก็ตามความลาดชันจะมีผลเพียงเล็กน้อยใน

                   ขณะที่ฝนตกแผ่วเบาและนานจนกระทั่งน้ำไหลบ่าหน้าดินมีอัตราไหลคงที่ แต่จะมีอิทธิพลรุนแรงมากถ้าฝน

                   ตกในช่วงเวลาสั้นๆ
                          2) ความยาวของแนวความลาดเท ปริมาณของดินที่ถูกชะล้างพังทลายจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อความยาว

                   ของความลาดเทมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากอัตราการไหลบ่าน้ำหน้าดินเพิ่มมากขึ้นไปตามความยาวของความ
                   ลาดเทที่ยาวมากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามบนพื้นที่ลาดเขานั้น การกัดกร่อนผิวหน้าดินมักจะไม่ปรากฏเห็น

                   บนบริเวณสันเขา และส่วนที่เป็นเชิงลาดลงมา ในกรณีที่ฝนตกสม่ำเสมอทั่วทั้งลาดเขา แต่จะเห็นการชะล้าง

                   พังทลายของดินอย่างชัดเจนบริเวณที่ต่ำกว่า ตรงจุดที่น้ำไหลบ่าหน้าดินเริ่มมีพลังกัดชะสูงกว่าแรงต้านทาน
                   ของอนุภาคดิน ดังนั้นจึงมักเห็นเสมอว่าตามแนวสันเขานั้นจะมีความกว้างอยู่ขนาดหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีการชะ

                   ล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นมากนั้น ซึ่งความกว้างของแต่ละแนวสันเขานี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลาย

                   ประการด้วยกัน
                          เมื่อน้ำไหลบ่าหน้าดินไหลลงสู่ที่ต่ำนั้น ปริมาณดินที่ถูกชะล้างพังทลายจะเพิ่มมากขึ้น

                   เรื่อยๆ จนกระทั่งพลังการเคลื่อนย้ายดินของน้ำไหลบ่าหน้าดินหมดสมรรถนะ ไม่สามารถจะพัดพา

                   เคลื่อนย้ายมวลดินตะกอนลงต่ำไปได้อีกแล้ว กระบวนการตกตะกอนก็จะเกิดขึ้น ณ จุดนั้นๆ ส่วนมากมักจะ
                   เป็นบริเวณใกล้ๆ สองฝั่งลำธาร ดังนั้นการที่จะลดอัตราและปริมาณการชะล้างพังทลายของดินบริเวณลาด

                   เขาควรจะทำเครื่องกีดขวางทางน้ำเป็นช่วง ๆ ตามลาดเขาด้วยระยะทางที่เหมาะสม
                          3) รูปร่างของความลาดเท ความลาดเทของพื้นที่ผืนใดผืนหนึ่งอาจมีลักษณะของแนวความลาดเท

                   แบบตรงเรียบ หรือลาดนูนขึ้น และโค้งลง หรือลาดเว้าลง และงอขึ้นก็ได้ บนความลาดเทที่โค้งขึ้น

                   (Convex) นั้น ความลาดเอียงจะมีมากตอนใกล้ๆ จุดต่ำสุดของแนวลาดเท ซึ่งเป็นบริเวณที่อัตราความเร็ว
                   ของน้ำไหลบ่าหน้าดินจะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การชะล้างพังทลายของดินจะมากกว่าความลาดเท

                   แบบอื่นๆ ส่วนความลาดเทแบบเว้า (Concave) ความลาดเอียงจะลดน้อยลงตอนบริเวณใกล้จุดสิ้นสุดของ
                   ความลาดเท ซึ่งมักทำให้เกิดการตกตะกอนมากกว่าที่จะเกิดการชะล้างพังทลายต่อไป ทั้งนี้เพราะอัตราการ

                   ไหลบ่าของน้ำหน้าดินและถูกทำให้ลดลงอย่างรวดเร็วนั่นเอง
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23