Page 25 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
ดินที่ถูกขนไปได้ก็มีเพียง 50 ตันต่อวัน กล่าวได้ว่ารถยนต์ขนดินจะเป็นตัวจำกัด ในทางกลับกันถ้าเราขุดดินได้
เพียง100 ตันต่อวัน แต่รถยนต์ที่มาขนดินขนได้ 200 ตันต่อวัน ปริมาณดินที่ถูกขนไปได้ก็มีเพียง 100 ตัน
ต่อวัน จำนวนดินที่ถูกขุดออกมาได้ก็จะเป็นตัวจำกัด
นิพนธ์ (2545) กล่าวว่า การนำแบบจำลอง MMF ไปใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน
การนำแบบจำลอง MMF มาใช้ให้ได้ประสิทธิภาพนั้นยังคงต้องคำนึงถึงความซับซ้อนของข้อมูล
ต่างๆ ที่จะใช้แบบจำลองร่วมกับข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันและเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลด้วยจาก
แบบจำลอง MMF ซึ่งจากแบบจำลอง MMF นี้ จะพบว่าไม่ได้ให้ความสำคัญไปที่ดินที่แตกกระจายเนื่องจาก
น้ำท่า และการพัดพาที่เกิดจากพลังงานจลน์ของน้ำฝน และไม่ได้พิจารณาถึงค่าอิทธิพลของความยาวของ
ความลาดชันที่มีต่อการชะล้างพังทลายของดิน (Slope length factor) จึงควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติม
เกี่ยวกับความเหมาะสมและถูกต้องในการนำแบบจำลอง MMF มาใช้ในการศึกษาการชะล้างพังทลายของดิน
ในประเทศไทย
จากการรวบรวมผลงานทางด้านการชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้ฐานข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน
ทำให้สามารถเข้าใจถึงการจะนำเอาข้อมูลทั้งหมดมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาแบบจำลอง เพื่อ
การประเมินค่าการชะล้างพังทลายดินเป็นรายปีของประเทศไทย ได้ศึกษาโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีจาก
แบบจำลอง MMF มาวิเคราะห์ปริมาณการสูญเสียดินให้อยู่ในรูปสมการทางคณิตศาสตร์ แล้วนำไป
ออกแบบและสร้างแบบจำลอง ให้อยู่ในรูปแบบของโปรแกรมเรียกใช้ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยสามารถ
นำไปหาระดับการชะล้างพังทลายของดินได้ โดยมีการแยกกระบวนชะล้างพังทลายของดินออกเป็น 2
ขบวนการ ได้แก่ การแตกกระจายของดิน (Soil detachment) และการพัดพาอนุภาคดิน
ที่แตกกระจาย (Transportation) ในขั้นตอนของการแตกกระจายของดินจะพิจารณาถึงผลกระทบ
จากน้ำฝน พลังงานของฝน และคุณสมบัติของดิน ส่วนในขั้นตอนการพัดพาจะพิจารณาผลกระทบ
จากน้ำท่า (Runoff) ในการพัดพาดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง จากนั้นจึงมีการเปรียบเทียบปริมาณ
การสูญเสียดินระหว่าง 2 ขบวนการ ขบวนการใดให้ค่าน้อยกว่าก็จะถือว่าค่านั้นเป็นปริมาณดินที่
สูญเสียไป เนื่องจากหากมีการแตกกระจายของดินน้อยแต่มีการพัดพามากก็จะถือว่ามีการชะล้างพังทลาย
ของดินในปริมาณเท่ากับการแตกกระจายของดิน แต่หากพื้นที่ใดมีการแตกกระจายของดินมากแต่มีการ
พัดพาน้อยก็จะถือว่ามีการชะล้างพังทลายของดินในปริมาณเท่ากับการพัดพา (Shrestha, 2003)
แนวทางการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
1. การจัดการดินในพื้นที่ลาดชัน ด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีกลและวิธีพืช (กรมพัฒนาที่ดิน,
ม.ป.ป.) ดังนี้
การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีกล (Mechanical Measures) เป็นวิธีการปรับสภาพของพื้นที่เพื่อลด
ความยาวและความลาดเทของพื้นที่เพื่อลดความสามารถในการเคลื่อนย้ายตะกอนดิน โดยการสร้างสิ่งกีด
ขวางความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อช่วยควบคุมน้ำไหลบ่าหน้าดิน ลดและชะลอ
ความเร็วของกระแสน้ำ วิธีการนี้ต้องใช้เทคนิคความรู้ แรงงาน เครื่องมือและงบประมาณสูง ได้แก่ การทำ
คันดินขวางความลาดชันของพื้นที่ในพื้นที่ที่ไม่สูงชัน การทำขั้นบันไดดินที่ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง และ
การทำคูรับน้ำรอบเขา เป็นต้น