Page 17 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           6

                          ทรัพยากรดิน

                          จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการเกษตร เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารและวัสดุสำหรับ
                   การเจริญของพืช เป็นที่กักเก็บน้ำ อากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในดิน ที่ผ่านมา การใช้

                   ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะทรัพยากรดินได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ที่

                   หลากหลายซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเพิ่มขึ้นของประชากร ส่งผลให้มี
                   ความต้องการพื้นที่การเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชให้มากขึ้น จึงมีการพัฒนาและใช้ประโยชน์ที่ดิน

                   ดังกล่าวอย่างเข้มข้นเพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต ผลจากการกระทำดังกล่าว

                   ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน เกิดการกร่อนดิน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และธาตุอาหาร
                   ส่งผลให้ผลผลิตของพืชลดลง การจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำเพื่อปรับปรุงบำรุงดินทั้ง

                   สมบัติทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการจัดการดินและการใช้
                   ปุ๋ยตามหลักวิชาการอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ดินมีผลิตภาพและคุณภาพที่ดีขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตของพืช

                   ให้มีปริมาณสูงและมีคุณภาพผลผลิตที่ดีและปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่ทำให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมอัน

                   จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรอื่นและสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งในการจัดการ
                   ทรัพยากรเกษตรอย่างยั่งยืน


                          การชะล้างพังทลายของดิน

                          การชะล้างพังทลายของดิน (Erosion) เป็นกระบวนการที่เกิดจากการที่มีแรง ซึ่งอาจเกิดจาก น้ำ

                   ลม หรือแรงโน้มถ่วงของโลก มากระทำให้วัตถุธาตุหรือสารแตกแยกออกจากกัน แล้วเคลื่อนย้ายอนุภาค
                   ของดินหรือสารหรือวัตถุธาตุดังกล่าวไปตกตะกอนทับถมอีกแห่งหนึ่ง (นิพนธ์, 2545) อันเนื่องมาจาก

                   2 สาเหตุ ได้แก่
                          1. การชะล้างพังทลายตามธรรมชาติ เช่น พื้นดินแตกระแหงเนื่องจากลม พื้นดินริมฝั่งน้ำถูก

                   กัดเซาะเนื่องจากน้ำ หน้าดินถูกน้ำฝนพัดพาไป

                          2. การชะล้างพังทลายโดยการกระทำของมนุษย์และสัตว์ เช่น การหักร้างถางป่า การขุดถนน
                   การขุดเหมืองแร่ การระเบิดเขา การขุดที่อยู่อาศัยของสัตว์ เมื่อผิวหน้าของดินปราศจากพืช

                   ปกคลุม การชะล้างและพัดพาของหน้าดินจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีฝนตก ปริมาณดินที่ถูกพัดพาออกไปนั้น

                   จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของฝนที่ตกลงมาแต่ละครั้ง เมื่อดินชั้นบนซึ่งอุดม
                   สมบูรณ์ถูกชะล้างหมดไปแล้ว ดินชั้นล่างก็จะโผล่ขึ้นกลายเป็นดินชั้นบนแทน โดยจะสังเกตได้ง่ายคือมี

                   สภาพแน่นทึบและแข็ง มีอินทรียวัตถุต่ำ ซึ่งจะเป็นดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชหรือทำการเกษตร

                   ด้านอื่นอีกต่อไป


                          ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน
                          อิทธิพลของลมฟ้าอากาศ

                          1) อิทธิพลของฝน ปัจจัยอันสำคัญที่สุดคือ ฝน ทั้งนี้เพราะแรงตกกระทบของเม็ดฝนนับเป็น

                   พลังงานอันแรกที่ทำให้ดินเกิดการแตกแยกออกจากกัน แรงตกกระทบดังกล่าวยังเป็นตัวการต่อเนื่องที่ทำ
                   ให้เกิดน้ำไหล่บ่าหน้าดิน และการเคลื่อนย้ายอนุภาคดินด้วย ปริมาณการชะล้างพังทลายจะเกิดขึ้นได้สูงสุด
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22