Page 23 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
พื้นที่อื่นได้ง่ายเพียงแต่อาศัยการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ในแต่ละปัจจัยที่นำมาพิจารณา แต่ข้อเสียของ
แบบจำลองประเภทนี้คือ มีความซับซ้อนสูงและอาศัยข้อมูลในการศึกษาพิจารณามาก (Shrestha, 2003)
ดังนั้น Morgan et al. (1984) ได้พยายามพัฒนาแบบจำลองที่สะดวกต่อผู้ใช้มากขึ้น โดยยังคง
อาศัยหลักการของสมการ USLE ในการพัฒนา โดยเป็นการผสมผสานระหว่างแบบจำลอง Physical
based และ Empirical based คือ แบบจำลอง Morgan, Morgan and Finney (MMF) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อ
ทำนายการชะล้างพังทลายของดินรายปีในพื้นที่ลาดเขา โดยมีข้อดี คือ มีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้
แบบจำลอง MMF ได้พิจารณาถึงกลไกที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินในรูปแบบทางกายภาพ
โดยคำนึงถึงกลไกย่อยต่าง ๆ เช่น พลังงานของเม็ดฝนในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ที่ทำให้เม็ดดินแตกกระจาย เป็นต้น
แต่เนื่องจากการพัฒนากลไกเหล่านี้ซับซ้อน การจะอธิบายถึงกลไกทั้งหมดจะต้องอาศัยข้อมูลและเวลาใน
การวิเคราะห์มาก ดังนั้นในแบบจำลอง MMF เองจึงต้องอาศัยการพิจารณาในรูปแบบของ Empirical
based เข้าผนวกด้วย โดยการนำค่าคงที่เข้าใส่ในแบบจำลอง
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ Morgan, Morgan and Finney (MMF model)
แบบจำลองการชะล้างพังทลายของดินที่นำเอาหลักการของ Empirical based model และ
Physical based model มาใช้ร่วมกัน (Mixed model) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Morgan et al. (1984) การ
พัฒนาแบบจำลอง MMF ขึ้นนั้นยังคงอาศัยหลักการของสมการ USLE ในการพัฒนา ซึ่งจุดประสงค์ของการ
สร้างแบบจำลองนี้ขึ้นก็เพื่อที่จะทำนายการชะล้างพังทลายของดินรายปีในพื้นที่ลาดเขา โดยมีข้อดี คือ มี
ความยืดหยุ่นในการนำไปใช้ แบบจำลอง MMF ได้พิจารณาถึงกลไกที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินใน
รูปแบบทางกายภาพ โดยคำนึงถึงกลไกย่อยต่างๆ เช่น พลังงานของเม็ดฝนในเขตพื้นที่ต่างๆ ที่ทำให้เม็ดดิน
แตกกระจาย เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักการของ Physical based model แต่เนื่องจากการพัฒนากลไกเหล่านี้
ซับซ้อน การจะอธิบายถึงกลไกทั้งหมดจะต้องอาศัยข้อมูลและเวลาในการวิเคราะห์มาก ดังนั้นในแบบจำลอง
MMF เองจึงต้องอาศัยการพิจารณาในรูปแบบของ Empirical based เข้าผนวกด้วย โดยการนำค่าคงที่เข้าใส่
ในแบบจำลอง
สำหรับหลักพิจารณาการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน ของแบบจำลอง MMF นั้นได้พิจารณา
กระบวนการที่ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินออกเป็น 2 กระบวนการคือ การแตกกระจายของเม็ดดิน
(Soil detachment) ที่เกิดจากเม็ดฝน และการพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจาย (Soil transportation)
ไปกับน้ำไหลบ่าหน้าดิน
1. กระบวนการแตกกระจายของดิน (Soil detachment) ในการพิจารณาถึงกระบวนการ
แตกกระจายของดินนั้น แบบจำลอง MMF จะได้พิจารณาถึงพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่สามารถทำให้ดิน
แตกกระจายออกเป็นเม็ดดิน ซึ่งขนาดของเม็ดฝนที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดพลังงานจลน์ต่างกันตามไปด้วย
ดังนั้นแบบจำลอง MMF จึงอาศัยการพิจารณาปริมาณของพลังงานจลน์ของเม็ดฝนแต่ละขนาดที่จะทำให้เกิด
การแตกกระจายของเม็ดดิน ซึ่งปริมาณของพลังงานจลน์นั้นมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศในแต่ละ
ภูมิภาคของโลก เช่น ขนาดของเม็ดฝนในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรจะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดฝนของประเทศใน
เขตอบอุ่น ดังนั้นพลังงานจลน์ที่เกิดจากเม็ดฝนในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรย่อมมากกว่าที่เกิดในประเทศ
เขตอบอุ่น สำหรับการคำนวณปริมาณพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นจากเม็ดฝนเพื่อนำมาใช้ในแบบจำลอง MMF นั้น