Page 24 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          13

                   จะอาศัยสมการที่เกิดขึ้นจากการทดลองมาแล้วในแต่ละเขตสภาพภูมิอากาศ โดยนำข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี

                   และความหนักเบาของฝนที่เกิดขึ้นในหนึ่งชั่วโมงมาใช้ในคำนวณพลังงานจากน้ำฝน
                          กระบวนการแตกกระจายของดินที่ได้พิจารณาถึงพลังงานจลน์จากเม็ดฝนแล้ว ยังพิจารณาถึงความ

                   คงทนต่อการถูกกัดชะของดินแต่ละประเภทมาประกอบ ซึ่งค่าความคงทนจะขึ้นอยู่กับเนื้อดินบน

                                 สมการของกระบวนการแตกกระจายของดิน (Soil detachment) เป็นดังนี้
                                                      D= K.(E exp )b.10
                                                                         -3
                                                                 -aA
                          D = ปริมาณเม็ดดินที่แตกกระจาย (Soil detachment) ในหน่วย กิโลกรัมต่อตารางเมตร

                          K = ข้อมูลดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน (Soil detachability index)
                          E = พลังงานจลน์ของฝน (Kinetic energy of rainfall)

                          A = ข้อมูลร้อยละของน้ำฝนที่พืชยึดไว้ (Crop interception percent factor)
                          a = 0.05

                          b = 1.0


                          2. การพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจาย (Soil transportation) การพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจาย

                   ไปกับน้ำไหลบ่าจะเป็นการพิจารณาการพัดพาดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งพิจารณาถึงปริมาณน้ำไหลบ่า
                   หน้าดิน (Run off) ประกอบกับความลาดชันของพื้นที่ รวมถึงชนิดของพืชที่ปกคลุมพื้นที่อยู่

                          สำหรับปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดินนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อดินนั้นดูดซับน้ำจนถึงจุดอิ่มตัว (Saturation

                   point) ในแบบจำลอง MMF นั้นจะพิจารณาจากปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อวัน และความสามารถในการกักเก็บน้ำ
                   ของดินที่ระดับสนาม เพื่อพิจารณาปริมาณน้ำที่ดินสามารถกักเก็บไว้ได้ และน้ำที่มีปริมาณมากเกินพอนั้นก็จะ

                   เกิดเป็นน้ำไหลบ่าหน้าดินซึ่งสามารถพัดพาเอาเม็ดดินไปเป็นตะกอนดินได้ ซึ่งการพัดพาเอาตะกอนดินไปได้
                   ไกลเพียงใดนั้นขึ้นกับความลาดชันของพื้นที่ที่สามารถทำให้น้ำไหลไปได้ รวมถูกการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท

                   ต่าง ๆ ว่าจะยับยั้งการไหลบ่าของน้ำได้มากน้อยเพียงใด

                          ซึ่งสมการของกระบวนการพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจาย (Soil transportation) เป็นดังนี้
                                                       T = C.Q .sinS.10
                                                                       -3
                                                               2
                          T = ปริมาณเม็ดดินที่ถูกพัดพาไปกับน้ำไหลบ่า (Soil transportation) ในหน่วยกิโลกรัมต่อตารางเมตร

                          C = ค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ (Crop cover)
                          Q = ปริมาณน้ำไหลบ่าหน้าดิน (Overland flow)

                          S = ค่าความลาดชันของพื้นที่ (Slope gradient)


                          หลังจากพิจารณาถึงกระบวนการแตกกระจายของดิน (Soil detachment) และกระบวนการพัดพา

                   อนุภาคดินที่แตกกระจาย (Soil transportation) แนวคิดของแบบจำลอง MMF นั้นคือ การนำทั้งสอง
                   กระบวนการมาเปรียบเทียบกัน โดยที่กระบวนการใดก็ตามมีความสามารถน้อยกว่าก็จะเป็น

                   ตัวจำกัด และเป็นปริมาณดินที่ถูกชะล้างพังทลายจริง เปรียบเทียบได้กับการขุดดิน กระบวนการแตกกระจาย

                   ของดินนั้นเปรียบได้กับปริมาณดินที่ขุดออกมาได้ และกระบวนการพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจายเปรียบได้
                   กับรถยนต์ที่มาขนดิน ถ้าเราขุดดินได้ 100 ตันต่อวัน แต่รถยนต์ที่มาขนดินขนได้เพียง 50 ตันต่อวัน ดังนั้น
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29