Page 14 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน นอกจากนั้นยังมีการคาดการณวาการไหลของน้ำบนผิวดิน (run-off) และการ
เกิดน้ำท่วมจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการเกษตรกรรม
ภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเกษตร โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งพื้นที่
การเกษตรส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในลักษณะต่างๆ
ไดแก การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ หรือรูปแบบการกระจายตัวของฝนในช่วงฤดูฝนเปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบ
โดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตรในอนาคต การศึกษาที่ผ่านมามีการใช้เทคนิคต่างๆ และใช้ข้อมูลภูมิอากาศ
สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะคุณสมบัติของ
ดิน ข้อมูลสภาพอากาศ ตลอดจนวิธีการบริหารจัดการการเพาะปลูกพืช (ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2554)
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โดย
มีพื้นที่เกษตรคิดเป็นประมาณร้อยละ 47 ของประเทศ พื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 33 และพื้นที่ใช้
ประโยชน์นอกการเกษตรประมาณร้อยละ 20 พืชเศรษฐกิจหลักที่ส่งออกของไทยได้แก่ ข้าว ยางพารา มัน
สำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน ซึ่งรายได้หลักส่วนหนึ่งมาจากภาคการเกษตร จึงถือได้ว่าการเกษตร
เป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญและสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศอย่างมาก โดยเป็นแหล่งผลิตอาหาร
และพืชที่เป็นแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและภูมิคุ้มกันให้กับ
ประเทศ โดยปัจจัยหลักในการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ทรัพยากรดินและน้ำ โดยการเกษตรที่ไม่
เหมาะสมจะส่งผลต่อทรัพยากรดินให้เสื่อมโทรม การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้และการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม
อย่างก้าวกระโดดนั้น ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ส่งผลให้เกิดภาวะ
โลกร้อนอันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดภาวะฝนแล้ง
น้ำท่วม และเกิดภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการเกษตรตามมา การเพาะปลูกพืช
ทางการเกษตรจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้กระแส
การเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี ตลอดจนการที่ประเทศไทย
จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็อาจส่งผลกระทบต่อการเกษตรของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเผาในที่โล่ง
การเผาในที่โล่ง (Open Burning) เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศหลักแหล่งหนึ่งที่ก่อให้เกิด
มลพิษทางอากาศ ได้แก่ ก๊าซต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจน
ไดออกไซด์ รวมทั้งฝุ่นละออง ควัน เถ้า ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ก่อให้เกิดความ
เดือดร้อนรำคาญเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาหญ้า หรือขยะริมทาง เส้นทางจราจร
เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมากมายเนื่องจากหมอกควันที่เกิด
ไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้การเผากลางแจ้งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟป่าเผาไหม้
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่กว้าง ซึ่งการเผาในที่โล่งเกิดจาก 3 กิจกรรมหลัก (ศูนย์ข้อมูลการจัดการ
คุณภาพอากาศจังหวัดพะเยา, 2558) ดังนี้