Page 10 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ทะเบียนวิจัยเลขที่ 61-63-18-11-020103-009-108-03-13
ชื่อโครงการวิจัย ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่
เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่
ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง
Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in
Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
กลุ่มชุดดิน -
สถานที่ดำเนินการ พื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
ผู้ร่วมดำเนินการ นายพงศ์ธร เพียรพิทักษ์ Mr.Phongthorn Phianphitak
นางสาวสมจินต์ วานิชเสถียร MissSomjin Wanichsathian
นางสาววิชิตา อินทรศรี MissWichita Intharasri
นายณรงค์เดช ฮองกูล Mr.Narongdech Hongkul
นายธนัญชย์ ดำขำ Mr.Thanun Dumkhum
บทคัดย่อ
โครงการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม
ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม
ใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนร่วมกับการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แบบจำลองการชะล้างพังทลาย
ของดิน (MMF Model) และการสำรวจข้อมูลภาคสนามเพื่อประมวลผลความอุดมสมบูรณ์ของดิน 5 ด้าน
ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนในดิน ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่
เป็นประโยชน์ และประเมินพื้นที่ถูกเผาไหม้และการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเกิด
จุดความร้อน ดำเนินการในปี 2561 – 2563
ลุ่มน้ำแม่แจ่มมีพื้นที่ครอบคลุม 2,454,375 ไร่ ปริมาณน้ำฝนสะสมเฉลี่ย 1,011.6 มิลลิเมตรต่อปี
มีปริมาณการสูญเสียดินเฉลี่ย 10,959,467 ตันต่อปี ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวโพด 116,416 ไร่ สูญเสียดิน
เฉลี่ย 613,716 ตันต่อปี การชะล้างพังทลายแปรผันตามปริมาณน้ำฝน สำหรับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มและพื้นที่ปลูกข้าวโพด มีปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ย 3.08 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอนในดินเฉลี่ย
1.79 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจนในดินเฉลี่ย 0.17 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสในดินเฉลี่ย 58.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และโพแทสเซียมในดินเฉลี่ย 121.83 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ โดยในปี 2562 และ 2563 พบว่า
ความอุดมสมบูรณ์ของดินมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาค่าการวิเคราะห์ทางวิเคราะห์ทางสถิติแบบ
Pair Sample T-test ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนในดิน และไนโตรเจนทั้งหมดมีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ จำนวนจุดความร้อนในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 21 จุดต่อปี
ส่งผลให้เกิดพื้นที่ถูกเผาไหม้ เฉลี่ย 12,917 ไร่ต่อปี ทำให้มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เฉลี่ย 5,683 ตันต่อปี ซึ่งผลการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแนวทางการอนุรักษ์ดินและน้ำ การชะล้างพังทลาย
ของดิน และแนวทางไม่เผาซังข้าวโพดเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกในปีต่อไป