Page 16 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           6

                             จากภาพที่ 2 พอจะสรุปได้ว่า การให้น้ าแก่พืชจะต้องเริ่มท าเมื่อความชื้นในดินลดลงถึงจุดวิกฤต และ
                   ปริมาณน้ าที่ให้จะต้องมากพอที่จะเพิ่มความชื้นในดินให้ถึงความชื้นชลประทาน ซึ่งถ้าหากท าการให้น้ าไม่ทันจนท าให้

                   ความชื้นในดินลดต่ าลงกว่าความชื้นที่จุดวิกฤต จะมีผลกระทบกระเทือนต่อผลผลิตของพืชท าให้เกิดการเหี่ยวเฉา
                   ผลผลิตและคุณภาพลดลง
                             แต่การที่จะรู้ว่าความชื้นในดินลดลงถึงจุดวิกฤตหรือยัง จะต้องมีการตรวจวัดความชื้นในดินในเขตรากพืช
                   ซึ่งมีทางท าได้ 3 วิธีคือ การวัดความชื้นของดินโดยการชั่งน้ าหนัก การวัดความชื้นโดยดูลักษณะและความรู้สึกสัมผัส
                   และวิธีสุดท้ายคือ การวัดความชื้นในดินโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 3 วิธีดังกล่าว จะช่วยท าให้ทราบว่าควร
                   จะให้น้ าแก่พืชได้หรือยัง และถ้าต้องให้จะต้องให้ด้วยปริมาณเท่าใด ความชื้นที่พืชดูดเอาไปใช้ได้มีค่าอยู่ระหว่าง
                   ความชื้นชลประทานถึงความชื้นที่จุดวิกฤต จะแปรเปลี่ยนไปตามชนิดดินและลักษณะของดิน
                             ความชื้นดิน (soil moisture) คือ น้ าซึ่งถูกดูดซับบนผิวอนุภาคดินหรือขังอยู่ชั่วคราวหรืออยู่ในสภาวะไอ
                   น้ าในช่องว่างระหว่างอนุภาคดิน น้ าเหล่านี้สามารถท าให้หมดได้ เมื่ออบที่อุณหภูมิ 105 - 110 องศาเซลเซียส ไม่
                   น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (คณะกรรมการจัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา,  2541) ปริมาณความชื้นในดิน มีผลมาจากการใช้

                   ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากองค์ประกอบทางลักษณะโครงสร้าง (structure)  บนพื้นที่นั้น ๆ ที่
                   แตกต่างกัน ซึ่งได้แก่ ชั้นของไม้ยืนต้น (tree layer) ชั้นของพุ่มไม้ (shrub layer) ชั้นของพืชล้มลุก (herb layer)
                   และชั้นของหญ้า (grass layer) โดยมีความผันแปรไปตามพื้นที่ (space) และเวลา (time) (ศุภชาติ, 2545)
                             ช่วงควบคุมความชื้นดิน (Soil  moisture  control  section)  คือ ช่วงความหนาของดินในหน้าตัดที่มี
                   ปริมาณความชื้นหรือน้ าในดินที่ถูกยึดไว้ด้วยแรงน้อยกว่า 1,500 กิโลพาสคัล (kPa) ในระดับความลึกต่าง ๆ จากผิว
                   ดินตามชั้นขนาดอนุภาคดิน (particle size class) ที่ก าหนดเป็นมาตรฐานของการจ าแนกในระบบอนุกรมวิธานดิน
                   มี 3 ชนิด (คณะกรรมการจัดท าปทานุกรมปฐพีวิทยา, 2541)

                             1) ดินที่มีชั้นขนาดอนุภาคร่วนละเอียด (fine-loamy)  ทรายแป้งหยาบ (coarse-silty)  ทรายแป้ง
                   ละเอียด (fine-silty) และดินเหนียว (clayey) ช่วงควบคุมความชื้นดินอยู่ระหว่าง 10 - 30 เซนติเมตร
                             2) ดินที่มีชั้นขนาดอนุภาคร่วนหยาบ (coarse-loamy)  ช่วงควบคุมความชื้นดินอยู่ระหว่าง 20  -  60
                   เซนติเมตร
                             3) ดินที่มีชั้นขนาดอนุภาคทราย (sandy) ช่วงควบคุมความชื้นดินอยู่ระหว่าง 30 - 90 เซนติเมตร
                             ความถี่ของการให้น้ า (จ านวนวันต่อครั้ง) ควรพิจารณาจากชนิดของดินซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถใน
                   การซึมน้ าของดิน โดยปริมาณน้ าที่ให้ในแต่ละครั้งควรซึมลงไปในดินทั้งหมด ถ้าให้มากเกินจนไหลออกนอกแปลงจะ
                   เป็นการสูญเสียน้ าไปโดยเปล่าประโยชน์และในช่วงวันท้าย ๆ ก่อนการให้น้ าอีกครั้งพืชอาจเกิดการขาดน้ าได้ ซึ่ง
                   ระบบชลประทานในปัจจุบันเกษตรกรมีความสะดวกมากขึ้นท าให้สามารถให้น้ าในปริมาณที่น้อยแต่บ่อยครั้งมากขึ้น

                   ซึ่งลดปัญหาการให้น้ ามากเกินความต้องการของพืชและความสามารถซึมน้ าของดินและสามารถประกันได้ว่าตลอด
                   ช่วงที่พืชต้องการน้ าจะไม่มีการขาดน้ าเกิดขึ้น (สุภัทร์, 2555)
                          3. ความต้องการน้้าของข้าวโพด (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2553)
                             ข้าวโพดมีความต้องการใช้น้ าตลอดฤดูปลูก ประมาณ 500 - 600 มิลลิลิตร หรือประมาณ 800 - 900

                   ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ไม่ชอบน้ าท่วมขัง การปลูกข้าวโพดในสภาพไร่โดยทั่วไปจะปลูกในช่วงฤดูฝน แต่บางครั้งให้น้ า
                   ได้ถ้าฝนทิ้งช่วง หรือกรณีปลูกข้าวโพดในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งจ าเป็นต้องให้น้ า มีวิธีปฏิบัติดังนี้
                             1) การให้น้ าครั้งแรกเมื่อปลูก ในการปลูกข้าวโพด หลังจากไถพรวนเตรียมแปลงเสร็จแล้ว ควรให้น้ าก่อน
                   ปลูกข้าวโพด โดยให้น้ า 50  -  65 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แล้วจึงหยอดข้าวโพดขณะดินมีความชื้นพอเหมาะ ถ้า
                   จ าเป็นต้องหยอดข้าวโพดก่อนให้น้ า ควรให้น้ าประมาณ 35 - 50 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ถ้าให้น้ ามากกว่านี้ จะต้องรีบ
                   ระบายน้ าออกแปลงทันที
                             2) การให้น้ าในช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด หลังจากข้าวโพดงอกแล้วควรให้น า 65  -  80
                   ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อสัปดาห์ โดยให้อีก 11 - 12 ครั้ง (สัปดาห์) การให้น้ าแต่ละครั้งไม่ควรให้น้ าท่วมขัง หรือดินชื้น
                   แฉะเป็นเวลานาน ถ้าให้น้ ามากเกินไป ควรรีบระบายน้ าออกแปลงทันที
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21