Page 11 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           1



                                                       หลักการและเหตุผล

                          ในช่วงที่ผ่านมา ความเข้มแข็งของภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง เห็นได้จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นฐาน
                   การผลิตภาคเกษตรที่ส าคัญมีความเสื่อมโทรมมากขึ้นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มรุนแรง
                   เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการผลิต โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้ง น้ าท่วม และฝนไม่ตกตามฤดูกาล รวมถึงปัญหาโรคและแมลง
                   ศัตรูพืชระบาด ซึ่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตร (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)
                          การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเกษตร เนื่องจากภาคเกษตรต้องพึ่งพาอาศัยดินฟ้า
                   อากาศเป็นหลัก เมื่อภูมิอากาศมีความแปรปรวนย่อมส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร เช่น ฤดูฝนมีการขยับเลื่อน ซึ่งท าให้
                   เกษตรกรไม่สามารถก าหนดวันเพาะปลูกได้เหมือนอดีต และยังกระทบกับพืชที่ต้องการน้ าฝนในการเพาะปลูกเป็น

                   หลัก นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือลดลง มีผลต่อการอยู่รอดและการขยายพันธุ์ของแมลง
                   ศัตรูพืช ส่งผลให้มีการระบาดของโรคและแมลงตลอดปี ซึ่งท าให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่าง
                   มาก ดังนั้นความแปรปรวนของสภาพอากาศในอนาคตย่อมส่งผลต่อความมั่นคงทางอาชีพ สุขภาพ วิถีชีวิตของ
                   เกษตรกร และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งจะเป็นประเด็นท้าทายความสามารถในการ
                   พัฒนาการเกษตรของไทยให้มีความยั่งยืนในอนาคตภายใต้ ภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                   (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)
                          ปัญหาที่ส าคัญคือเรื่องการจัดการน้ า แม้ว่าประเทศไทยจะมีปริมาณน้ าที่เกิดจากฝนเพียงพอต่อความ
                   ต้องการ แต่มักจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ าในฤดูแล้งและประสบอุทกภัยในฤดูฝน และมีโอกาสยิ่งมากขึ้นที่จะ

                   ประสบปัญหาดังกล่าวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากแหล่งเก็บกักน้ าเพื่อใช้เก็บกักน้ า
                   ในช่วงฤดูฝน เพื่อลดปัญหาอุทกภัย และใช้ส่งน้ าในฤดูแล้งเพื่อสนับสนุนการใช้น้ าภาคส่วนต่าง ๆ มีไม่เพียงพอ พื้นที่
                   ชลประทานที่ก่อสร้างแล้วเสร็จมีเพียง 22.5 เปอร์เซ็นต์ และบางพื้นที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น การ
                   สร้างทางคมนาคม อาคารบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม กีดขวางทางน้ า ท าให้การบริหารจัดการน้ าไม่สามารถ
                   กระจายได้อย่างทั่วถึง จึงท าให้เกิดปัญหาอุทกภัย และปัญหาขาดแคลนน้ าในพื้นที่นอกเขตชลประทานทุกปี
                   (คณะอนุกรรมการจัดท าแผนเพื่อการบริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร, 2555)
                          ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะท าให้ภูมิภาคในเขตร้อนมีฤดูแล้งยาวนาน การ
                   ระเหยของน้ าเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ าที่เก็บกักลดลงและส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ า ส าหรับประเทศไทยจากกผล
                   การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายฉบับได้ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิของประเทศไทยจะสูงขึ้น 1 - 2 องศา

                   เซลเซียส และปริมาณน้ าฝนมีแนวโน้มลดลง โดยปริมาณน้ าฝนในช่วงฤดูฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่จะลดลงในฤดูแล้ง
                   ของปีถัดไป ดังนั้นจึงอาจท าให้เกิดการขาดแคลนน้ าเพื่อการเกษตรโดยรวม (คณะอนุกรรมการจัดท าแผนเพื่อการ
                   บริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร, 2555)
                          จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจนท าให้อุณหภูมิสูงขึ้น รวมทั้งปริมาณน้ าฝนที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการ
                   ขาดแคลนน้ าที่ใช้ในการท าการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ท าการศึกษาวิจัยหาวิธีการกักเก็บรักษาความชื้นใน
                   ดิน และการบริหารจัดการน้ าที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชตลอดฤดูปลูก โดยไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณ
                   ผลผลิตพืชและรายได้เกษตรกร


                                                          วัตถุประสงค์
                          1. เพื่อศึกษาปริมาณความชื้นในดิน และความถี่ของการให้น้ า ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
                   ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                          2.  เพื่อศึกษาวัสดุคลุมดิน และการจัดการดินที่เหมาะสม ต่อการรักษาความชื้นในดินที่เหมาะสมต่อการ
                   เจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                          3. เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการน้ าในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้เพียงพอตลอดอายุปลูก
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16