Page 19 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           9

                             2) การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยมูลวัวตามต ารับการทดลอง 2 ตันต่อไร่ ก่อนปลูก 15  -  30 วัน และใส่ปุ๋ยเคมีตาม
                   ค าแนะน าของโปรแกรมส าเร็จรูปการจัดการดิน น้ า และพืชเศรษฐกิจส าหรับประเทศไทย (ThaiSOIL

                   MANAGEMENT 1.0: TSM) โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 46 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 10
                   กิโลกรัมต่อไร่ ทุกต ารับการทดลองแบ่งใส่จ านวน 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ปุ๋ยรองพื้น (16-20-0) ใส่รองก้นร่องตอนปลูก
                   โดยใช้ปุ๋ยไนโตรเจนครึ่งหนึ่ง กับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโพแทชทั้งหมด ครั้งที่ 2 ปุ๋ยแต่งหน้า (46-0-0) ใส่เมื่อข้าวโพด
                   อายุ 30 วัน (ยงยุทธ และคณะ, 2554) และหลังก าจัดวัชพืช โดยโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ
                             3) การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่
                   ระยะปลูกระหว่างต้น 25 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างแถว 75 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 - 3 เมล็ดต่อหลุม เมื่อ
                   ข้าวโพดอายุ 15 วัน ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม และปลูกซ่อมหลุมที่ไม่งอก
                             4) การให้น้ า ข้าวโพดมีความต้องการใช้น้ าตลอดฤดูปลูก ประมาณ 500 - 600 มิลลิเมตร หรือประมาณ
                   800 - 900 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ (กรมส่งเสริมการเกษตร,  2553)  โดยข้าวโพดอายุ 1  -  30  วัน ให้น้ าทุกวัน ส่วน
                   ข้าวโพดอายุ 31 - 100 วัน ให้น้ าตามต ารับการทดลอง

                          3. การเก็บข้อมูล

                             1) ข้อมูลดิน เก็บตัวอย่างดิน จ านวน 4 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังเก็บผลผลิตปีที่ 1  2 และ 3 ที่
                   ระดับความลึก 0 - 30 เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (soil pH) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                   (organic  matter:  OM)  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (available  phosphorus:  P) ปริมาณ
                   โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (available  potassium:  K) แคลเซียมที่สกัดได้ในดิน (extractable
                   calcium: Ca) และแมกนีเซียมที่สกัดได้ในดิน (extractable magnesium: Mg)
                             2) ข้อมูลพืชเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิต ได้แก่ความสูงของต้น จ านวนต้นต่อไร่
                   จ านวนฝักต่อต้น จ านวนฝักต่อไร่ และปริมาณผลผลิตต่อไร่ โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างในพื้นที่ 3 x 3 เมตร
                             3) ข้อมูลความชื้นในดิน วัดความชื้นในดินทุกวันที่ระดับความลึก 0  -  15  เซนติเมตร โดยใช้เครื่องวัด
                   ความชื้นในดิน (tensiometer) เพื่อค านวณการให้น้ าพืชที่ระดับความชื้นตามต ารับการทดลองที่ควบคุมความชื้นในดิน

                             4) ข้อมูลความชื้นในดิน เก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0 - 15 เซนติเมตร โดยใช้ชุดเก็บตัวอย่างดินแบบ
                   ไม่ท าลายโครงสร้าง (soil core samplers) ก่อนและหลังการทดลองที่ผิวดินแปลงละ 1 ตัวอย่าง ชั่งน้ าหนักดินเปียก
                   แล้วน าตัวอย่างดินไปอบที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 - 48 ชั่วโมง แล้วน ามาชั่งหาน้ าหนักดินแห้ง

                          4. การวิเคราะห์ข้อมูล
                             1) ข้อมูลธาตุอาหารพืชในดิน
                               - น าตัวอย่างดิน ส่งวิเคราะห์ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM)
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (P) โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (K) แคลเซียมที่สกัดได้ในดิน
                   (Ca) และแมกนีเซียมที่สกัดได้ในดิน (Mg)
                             2) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
                               - วิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติของผลวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดินก่อนและหลังการทดลองใน
                   แต่ละต ารับการทดลอง (combine analysis)

                               - วิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติของค่าความชื้นในดิน เจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยง
                   สัตว์ในแต่ละต ารับการทดลอง
                               - ค านวณผลผลิตพืชและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24