Page 17 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           7


                          4. การจัดการเรื่องน้้า (ส านักงาน กปร., 2555)
                             การจัดการเรื่องน้ า ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ าชลประทาน จะต้องมีการจัดการน้ าในพื้นที่ โดยการป้องกันการ
                   ระเหยของน้ า เช่น การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดินเพื่อเก็บน้ าฝนลงในดิน ให้ดินเป็นที่เก็บน้ า ท าคันดินชะลอ
                   การไหลของน้ า ท าคันคูรับน้ าเพื่อรวบรวมน้ าลงในบ่อ ซึ่งระบบน้ าที่เหมาะสมในการให้น้ าต้องเป็นแบบให้น้ าน้อยแต่
                   บ่อยครั้ง เช่น ระบบสปริงเกอร์
                             การจัดการเฉพาะจุด เป็นการปรับปรุงพื้นที่เร่งด่วนเฉพาะพื้นที่ เช่น บริเวณหลุมปลูก ควรมีการใช้ปุ๋ย
                   อินทรีย์ ปุ๋ยคอก รองก้นหลุมเพื่อให้ดินมีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหาร อุ้มน้ าได้มากขึ้น เร่งการเจริญเติบโต
                   ของพืชในระยะแรก ท าให้พืชแข็งแรง มีรากหยั่งลึก หาอาหารได้มากขึ้น

                             อินทรียวัตถุในดินเป็นปัจจัยส าคัญในการควบคุม และก าหนดสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพของ
                   ดิน เช่น การปลดปล่อยธาตุอาหารหลักของพืชในดิน ช่วยให้ดินเกาะตัวกันเป็นโครงสร้าง ช่วยเพิ่มการดูดยึดน้ าในดิน
                   ช่วยเพิ่มการระบายอากาศ การลดอัตราการชะล้างพังทลาย รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน (สรสิทธิ์,
                   2535) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสามารถในการให้ผลผลิตของดิน
                   รวมทั้งการพัฒนาระบบนิเวศของแต่ละสภาพแวดล้อมโดยตรง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2541) อินทรียวัตถุ
                   เป็นสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของสารอินทรีย์ซึ่งอยู่ในหลายขั้นตอน เมื่อย่อยสลายถึงขั้นสุดท้ายจนได้สารฮิวมัส ซึ่ง
                   เป็นสารที่เสถียรพื้นผิวสัมผัสสูง สามารถดูดซับน้ าได้ดี มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง อินทรียวัตถุมี
                   ความส าคัญมากเพราะเป็นตัวควบคุมองค์ประกอบอื่น ๆ ของดินทั้งทางตรงและทางอ้อมให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสม

                   ต่อการปลูกพืชให้แร่ธาตุอาหารแก่พืช อินทรียวัตถุเมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาสะสมอยู่ในดิน
                   ช่วยท าให้จุลินทรีย์ในดินท างานได้ดีขึ้น ช่วยให้พืชมีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูง ช่วยปรับปรุง
                   คุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้อนุภาคของดินจับตัวกันเป็นก้อน ดินมีโครงสร้างที่ดี ร่วนซุย
                   อากาศในดินถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังช่วยอุ้มน้ าไว้ให้พืชได้ใช้ระยะเวลานานขึ้นมีประโยชน์ต่อการ
                   เจริญเติบโตของพืชมากขึ้น ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงจะช่วยให้พืชทนทานอยู่ได้ถึงแม้จะประสบกับฝนแล้ง (ปรัชญา และ
                   คณะ, 2539)
                             อินทรียวัตถุมีความสัมพันธ์กับการกักเก็บน้ า และการระบายน้ าออกจากพื้นที่ เนื่องจากอินทรียวัตถุมี
                   ลักษณะเป็นอนุภาคขนาดเล็กและมีลักษณะเป็นคอลลอยย์ จึงมีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้ าไว้ได้มากเป็นพิเศษ
                   นอกจากนั้นอนุภาคของอินทรียวัตถุยังประกอบกันเป็นโครงสร้างมีลักษณะคล้ายฟองน้ ามีช่องว่างขนาดเล็กที่ดูดซับ

                   น้ าได้มาก จึงช่วยเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ าไว้ได้มากตามไปด้วย และอินทรียวัตถุยังมีผลต่อโครงสร้างของ
                   ดินท าให้ดินสามารถดูดซับน้ าไว้ได้มาก และมีการซาบซึมน้ าได้ดี (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
                             การใช้ปุ๋ยเคมีนั้นก็ยังมีความส าคัญและจ าเป็นต่อการผลิตพืช เนื่องจากเป็นแหล่งของธาตุอาหารที่พืช
                   สามารถน าไปใช้ประโยชน์ได้ทันที การลดการใช้ปุ๋ยเคมีจึงต้องท าไปพร้อมกับการหาปัจจัยอื่นมาทดแทนเพื่อรักษา
                   ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้มีความสามารถในการผลิตพืช ซึ่งปัจจัยที่หาได้ง่ายที่สุดก็คือเศษซากพืชที่เหลืออยู่
                   ในแปลงหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นแหล่งสะสมธาตุอาหารที่ส าคัญ นอกจากนี้อาจปฏิบัติร่วมกับการลดการไถพรวน
                   การใช้วัสดุอินทรีย์ หรือการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชที่ให้ชีวมวลสูงเป็นพืชตามแล้วไถกลบเศษพืชเหล่านั้นกลับลงไป

                   ในพื้นที่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ศุภกาญจน์ และคณะ, 2556)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22