Page 20 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          10


                                                        ผลวิจัยและวิจารณ์


                   1. ผลวิเคราะห์ดินก่อนการทดลอง
                          1.1 ผลวิเคราะห์ดินทางกายภาพ
                              ผลการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของตัวอย่างดินก่อนการทดลอง พบว่าดินในแปลงทดลองมี
                   ลักษณะเนื้อดิน (texture) เป็นดินร่วน (loam)  ปริมาณดินทราย (sand) ดินร่วน (silt) และดินเหนียว (clay) มีค่า

                   เท่ากับ 42.19 33.69 และ 24.12 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ ความหนาแน่นรวมของดิน (bulk  density) มีค่าเท่ากับ
                   1.33  กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าความชื้นในดิน (soil  moisture  content) มีค่าเท่ากับ 4.96  เปอร์เซ็นต์โดย
                   น้ าหนัก ค่าความชื้นที่แรงดึงน้ า (water retention) ที่ระดับความดัน 1/3 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 21.86 เปอร์เซ็นต์
                   โดยน้ าหนัก และค่าความชื้นที่แรงดึงน้ า (water  retention) ที่ระดับความดัน 15 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ  11.04
                   เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนัก ดังแสดงในตารางที่ 3

                   ตารางที่ 3 สมบัติทางกายภาพของดินก่อนการทดลอง

                                 สมบัติทางกายภาพของดิน                                       ค่าวิเคราะห์
                                 Sand (%)                                                       42.19
                                 Silt (%)                                                       33.69
                                 Clay (%)                                                       24.12

                                 Texture                                                        Loam
                                                  -3
                                 Bulk density (g cm )                                           1.33
                                 Soil moisture content (% by wt)                                4.96
                                 Water retention 1/3 atm. (% by wt)                             21.86
                                 Water retention 15 atm. (% by wt)                              11.04


                          1.2 ผลวิเคราะห์ดินทางเคมี
                              ผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของตัวอย่างดินก่อนการทดลองที่ระดับความลึก 0  -  30  เซนติเมตร

                   พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) มีค่าเท่ากับ 6.18 (ตารางที่ 4) จัดอยู่ในระดับกรดเล็กน้อย ไม่ต้องใส่ปูน
                   เพื่อปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเนื่องจากตรวจไม่พบ (not  determined) ความต้องการปูนเพื่อแก้ความ
                   เป็นกรด (lime requirement: LR) ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (organic matter: OM) มีค่าเท่ากับ 2.81 เปอร์เซ็นต์
                   จัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (phosphorus:  P) มีค่าเท่ากับ  338.83
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูงมาก ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (potassium: K) มีค่า
                   เท่ากับ 499.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับสูงมาก ปริมาณแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (calcium:
                   Ca) มีค่าเท่ากับ 1,709.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง ปริมาณแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                   ในดิน (magnesium: Mg) มีค่าเท่ากับ 230.80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง ค่าการน าไฟฟ้าของดิน

                   (electrical  conductivity:  EC) มีค่าเท่ากับ 0.09  เดซิซีเมนส์ต่อเมตร  จัดว่าเป็นดินธรรมดาไม่ใช่ดินเค็ม  และค่า
                   คาร์บอนในดิน (carbon: C) มีค่าเท่ากับ 1.76 เปอร์เซ็นต์
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25