Page 13 - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความชื้นในดินและการเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ The Impact of Climate Change on Soil Moisture and the Growth of Maize on Upland of Chiang Mai province.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           3


                   ตารางที่ 1 เนื้อที่ ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ราคา และมูลค่าของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี พ.ศ. 2554 - 2563

                      ปี        เนื้อที่   เนื้อที่เก็บ  ผลผลิต      ผลผลิตต่อไร่     ราคา         มูลค่าของ
                              เพาะปลูก       เกี่ยว     (1,000 ตัน)   (กิโลกรัม)    ที่เกษตรกร      ผลผลิต
                             (1,000 ไร่)   (1,000 ไร่)                                ขายได้       (ล้านบาท)
                                                                                  (บาท/กิโลกรัม)

                    2554       7,401         7,179        4,973         693            7.63         37,944
                    2555       7,529         7,154        4,948         692            9.34         46,210
                    2556       7,427         7,215        4,876         676            7.01         34,181
                    2557       7,232         7,073        4,730         669            7.31         34,576
                    2558       6,587         6,275        4,029         642            7.73         31,144
                    2559       6,490         6,445        4,390         681            6.86         30,115
                    2560       6,579         6,553        4,821         736            6.25         30,131
                    2561       6,930         6,895        5,069         735            7.96         40,349
                    2562       7,025         6,522        4,535         695            7.60         34,466
                    2563      (f) 7,030     (f) 6,881    (f) 4,806     (f) 698         7.67         36,862

                   หมายเหตุ: f = forecasting data หมายถึง ข้อมูลจากการพยากรณ์
                   ที่มา: ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2564)

                             ส าหรับการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในอนาคต

                   นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ได้ใช้การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีต ได้แก่ อุณหภูมิ ฝน พายุ หรือระดับน้ าทะเล
                   เพื่อน ามาค านวณและพนาการณ์สถานการณ์ในอนาคต ผลลัพธ์ที่ได้ส าหรับประเทศไทย มีดังนี้ 1) อุณหภูมิร้อนขึ้น
                   และร้อนยาวนานขึ้นแทบทุกภาคของประเทศ บริเวณที่คาดว่าจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1  -  2 องศา อยู่ในเขตลุ่มน้ า
                   เจ้าพระยาและภาคอีสานตอนล่าง 2) สภาพอากาศหนาวสั้นลงหรือหายไปเลย เหลือเพียงแค่ทางตอนเหนือของ
                   ประเทศที่ยังมีอากาศหนาวเท่านั้น 3) การเปลี่ยนแปลงของฝนมีกระบวนการระเหยและการกลั่นตัวเร็วขึ้น ความถี่
                   ของฝนเพิ่มขึ้น ในขณะที่น้ าก็จะมีอัตราการระเหยเร็วขึ้น ท าให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้พืชขาดน้ าในฤดูกาล
                   เพาะปลูก และ 4) เมื่อมีความร้อนสะสมมากขึ้นแนวโน้มการมีพายุเพิ่มขึ้น ความรุนแรงของพายุเพิ่มขึ้น โดยสถิติเดิม
                   ประมาณ 8 ปี จะเกิดพายุ 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันมีพายุเกิดขึ้น 3 ปีต่อครั้ง และเป็นพายุขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

                   ในขณะที่พายุขนาดเล็กระดับดีเปรสชั่นมีจ านวนเกิดขึ้นลดลงมาก (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18