Page 45 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   เกษตรกร ให้ผลผลิตน้่าหนักสด และน้่าหนักแห้งต่่ากว่า 644 และ 82.05 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 13c)

                   ทั้งนี้ เป็นเพราะไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นช่วยลดการดูดใช้แมงกานีส (ภาพที่ 9c) ซึ่งเป็นพิษกับพืชหากมีความเข้มข้นสูง

                   เกินไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเพิ่มปุ๋ยไนโตเจนมากกว่า 18 กิโลกรัม N ต่อไร่ ส่งผลให้ผลผลิตน้่าหนักสดและน้่าหนัก

                   แห้งลดลง อยู่ในช่วง 579-656 และ 68.09-72.21 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 13b) สอดคล้องกับลักษณะ
                   การเจริญเติบโต เนื่องจากอิทธิพลของไนโตรเจนที่สูงเกินไป ยับยั้งการดูดใช้ทองแดงจึงเป็นสาเหตุจ่ากัดผลผลิต

                   ส่วนความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์ พบว่า การใช้วิธีเกษตรกร มีความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์สูงสุด 14.52 เปอร์เซ็นต์

                   สูงกว่า การใส่ปุ๋ยในช่วง 0-27 กิโลกรัม N ต่อไร่ ซึ่งมีความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์ของเหง้าขมิ้นชัน ไม่แตกต่างกัน

                   อยู่ในช่วง 11.63-12.39 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 13d) อาจเนื่องจากวิธีเกษตรกรต้นขมิ้นชันมีการดูดแมงกานีสไป

                   สะสมในปริมาณสูงกว่าต่ารับการทดลองอื่น เพราะไม่มีธาตุที่เป็นปฏิปักษ์ ที่สามารถไปแก่งแย่งกับแมงกานีสได้

                   เพียงพอ ส่งผลให้ต้นขมิ้นชันอยู่ในสภาวะเครียด จึงผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ออกมาสูง สอดคล้องกับผลการหา

                   ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นแมงกานีสกับสารเคอร์คูมินอยด์ในเหง้าขมิ้นชัน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก
                   ในลักษณะเส้นโค้ง (ภาพที่ 14) ซึ่งโดยธรรมชาติสารส่าคัญในพืชมักถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกป้องกันอันตราย

                   จากสิ่งเร้า เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ส่าหรับต้นขมิ้นชัน มีความเป็นไปได้ว่า แมงกานีสที่ถูกดูดมา

                   สะสมในใบและเหง้าเกินความจ่าเป็น ชักน่าให้เซลล์เกิดสภาวะเครียดออกซิเดทีฟ (oxidative stress) (Panda et

                   al., 1987) โดยโมเลกุลของออกซิเจนภายในเซลล์ ซึ่งไวต่อปฏิกิริยาจะรับอิเล็กตรอนจากแมงกานีส เกิดเป็นสาร

                   อนุมูลอิสระออกซิเจนรีแอกทีฟ (reactive oxygen species, ROS) ได้แก่ ซูเปอร์ออกไซด์ อนุมูลไฮดรอกซิล
                   ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ และอนุมูลอิสระอื่น ๆ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกิดอย่างต่อเนื่องไม่สามารถควบคุมได้ จน

                   ท่าให้เซลล์ได้รับความเสียหาย มีผลให้พืชอยู่ในสภาวะอ่อนแอ (Huang et al., 2016) ต้นขมิ้นชันจึงเร่งผลิตสาร

                   เคอร์คูมินอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกท่าลาย สอดคล้องกับรายงาน

                   การใช้สารเคอร์คูมินอยด์สามารถลดการอักเสบของตับในหนูที่ติดพยาธิใบไม้ตับเรื้อรัง (สุดารัตน์ และคณะ,

                   2555) นอกจากนี้ เคอร์คูมินอยด์ ยังมีกลิ่นหอมระเหย ซึ่งน่าจะมีบทบาทช่วยไล่แมลงศัตรูที่จะเข้ากัดกินในยามที่
                   ต้นขมิ้นชันอ่อนแอ ดังนั้น แนวทางการผลิตขมิ้นชันที่มีสารเคอร์คูมินอยด์สูง อาจศึกษาการปลูกขมิ้นชันในบริเวณ

                   ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่ปกติ เช่น พื้นที่ เป็นกรด ด่าง หรือเค็ม ในช่วงระดับแตกต่างกัน ส่าหรับเป็นแนวทาง

                   กระตุ้นให้ต้นขมิ้นชันสร้างสารเคอร์คูมินอยด์ได้มากขึ้น
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50