Page 47 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   5.2 ผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตขมิ้นชัน

                          ผลประเมินการเจริญเติบโตและผลผลิตขมิ้นชัน จากการทดสอบอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสเปรียบเทียบกับของ

                   เกษตรกร พบว่า ความสูงของต้น และความกว้างของใบ ในทุกต่ารับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ

                   อย่างไรก็ตาม การใช้ปุ๋ยอัตรา 13 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ มีแนวโน้มส่งผลให้ต้นขมิ้นชันมีการเจริญเติบโตสูงกว่าวิธี
                                                        2 5
                   เกษตรกร เมื่อพิจารณาจากความสูงต้น และความกว้างใบ แต่เมื่อมีการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นอีก ส่งผลให้ความ

                   สูงของต้นขมิ้นชันและความกว้างใบลดลง (ภาพที่ 15a) ชี้ให้เห็นถึง ขีดจ่ากัดในการตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัส

                   เนื่องจากผลกระทบเชิงลบในทางอ้อม ต่อการลดการดูดใช้ แคลเซียมกับโพแทสเซียม จากการเพิ่มการดูดใช้

                   สังกะสี (ภาพที่7a-7c) ส่วนการแตกกอ พบว่า ต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราต่าง ๆ ส่งผลให้ต้นขมิ้นชัน

                   มีแนวโน้มแตกกอ สูงกว่าวิธีเกษตรกร โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ย 13 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ มีการแตกกอสูงสุด 4.0 ต้น
                                                                                2 5
                   ต่อกอ (ภาพที่ 15b) นอกจากนี้ เมื่อประเมินผลผลิต พบว่า การใช้ปุ๋ยอัตรา 9 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ ส่งผลให้ได้ผล
                                                                                            2 5
                   ผลิตน้่าหนักสด และน้่าหนักแห้งสูงสุด 1,186 และ 154.14 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ วิธีเกษตรกร ให้ผลผลิต
                   น้่าหนักสด และน้่าหนักแห้งต่่ากว่า 644 และ 82.05 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 15c) และเมื่อเพิ่มปริมาณ

                   ปุ๋ยมากกว่า 9 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ ส่งผลให้ผลผลิตลดลงตามล่าดับ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการเจริญเติบโต ที่
                                        2 5
                   ได้รับอิทธิพลจากการถูกจ่ากัด ปริมาณดูดใช้แคลเซียมและโพแทสเซียมโดยอ้อม ทั้งนี้ แคลเซียมเป็นองค์ประกอบ

                   ของผนังเซลล์ สร้างความแข็งแรงให้แก่ต้นพืชและส่วนของราก หากต้นและรากไม่แข็งแรง จึงกระทบต่อการดูดน้่า

                   และธาตุอาหาร ส่วนโพแทสเซียมท่าหน้าที่ล่าเลียงแป้งและน้่าตาลไปสร้างผลผลิต (ยงยุทธ, 2552) การได้รับ
                   โพแทสเซียมไม่เพียงพอจึงลดผลผลิตโดยตรง ส่วนความเข้มข้นของสารเคอร์คูมินอยด์ พบว่า เมื่อความเข้มข้น

                   ฟอสฟอรัสในเหง้าเพิ่มขึ้นส่งผลให้ปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ลดลง (ภาพที่ 16) การใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราสูง 18

                   และ 22 กิโลกรัม P O  ต่อไร่ กับวิธีเกษตรกร มีความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์สูงสุด ไม่แตกต่างกันทางสถิติ 13.67,
                                   2 5
                   14.66 และ 14.53 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ (ภาพที่ 15d) ในขณะที่ การใช้ปุ๋ยอัตรา 4, 9 และ 13 กิโลกรัม P O
                                                                                                             2 5
                   ต่อไร่ ส่งผลให้ปริมาณเคอร์คูมินอยด์ลดลง อยู่ในช่วงต่่า 7.88, 8.91 และ 9.44 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ (ภาพที่
                   15d) ทั้งนี้ อาจเนื่องจาก ต่ารับการทดลองดังกล่าว ลดความเครียดจากการขาดฟอสฟอรัสโดยตรง และชักน่าให้

                   ต้นขมิ้นชันดูดแมงกานีสน้อยลงจากอ่านาจปฏิปักษ์ของธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ จึงลดสภาวะเครียดที่เกิดจากพิษ

                   แมงกานีส การผลิตสารเคอร์คูมินอยด์จึงลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อเพิ่มปุ๋ยฟอสฟอรัสมากกว่า 13 กิโลกรัม P O
                                                                                                             2 5
                   ต่อไร่ สามารถชักน่าให้ได้สารเคอร์คูมินอยด์เพิ่มขึ้นอีกครั้ง อาจเป็นเพราะต้นขมิ้นชันเกิดสภาวะเครียดจากปัจจัย

                   อื่น เช่น การได้รับสังกะสีและทองแดงไม่เพียงพอ สอดคล้องกับ ความเข้มข้นสังกะสีและทองแดงในเหง้าขมิ้นชัน

                   ของต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตราสูง พบว่า มีการสะสมสังกะสีและทองแดงต่่ากว่าต่ารับการทดลองอื่น

                   อย่างเด่นชัด (ภาพที่ 11d) โดยทองแดงเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ส่วน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52