Page 48 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   สังกะสีเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานส่าหรับใช้ใน

                   กระบวนการภายในของพืช (Hafeez et al., 2013) เมื่อต้นขมิ้นชันขาดธาตุทั้งสองชนิด ส่งผลให้อยู่ในสภาวะ

                   เครียด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ได้รับความเสียหายจึงผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ออกมาลดสภาวะดังกล่าว จากผลการ

                   ทดลอง ชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมสามารถเพิ่มผลผลิตขมิ้นชันในเชิงปริมาณ แต่มีผลลดความ
                   เข้มข้นสารเคอร์คูมินอยด์ต่อหน่วยน้่าหนัก เนื่องจากการใส่ปุ๋ยไปลดสภาวะเครียดของพืช อย่างไรก็ตาม เมื่อ

                   ประเมินปริมาณสารส่าคัญที่ได้ต่อหน่วยพื้นที่จากผลผลิต จะได้ปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์สูงกว่าวิธีที่ใช้ปุ๋ยไม่

                   เหมาะสม เช่น เมื่อเปรียบเทียบวิธีที่ได้ผลผลิตน้่าหนักแห้งสูงสุดกับวิธีเกษตรกร ซึ่งให้ผลผลิตน้่าหนักแห้ง 154.14

                   และ 82.05 กิโลกรัมต่อไร่ และมีสารเคอร์คูมินอยด์เข้มข้น 8.91 และ 14.53 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ พบว่า ต่ารับ

                   การทดลองที่ได้ผลผลิตน้่าหนักแห้งสูงจะให้ผลผลิตเคอร์คูมินอยด์ต่อไร่ 13.73 กิโลกรัม สูงกว่าวิธีเกษตรกร 11.92

                   กิโลกรัมต่อไร่ ถึงแม้จะมีความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์ต่อหน่วยน้่าหนักต่่ากว่า ดังนั้น การใช้ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม

                   จึงยังเป็นแนวทางที่เกษตรกรควรยึดถือปฏิบัติเพราะจะช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่






























                   ภาพที่ 15 ผลของอัตราปุ๋ยฟอสฟอรัสต่อความสูงต้น ความกว้างใบ (a) และการแตกกอ (b) ของต้นขมิ้นชัน

                   รวมถึง ผลผลิตน้่าหนักสด น้่าหนักแห้ง (C) และความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์ (d) ในเหง้าขมิ้นชัน T1 ใส่ปุ๋ยสูตร

                   15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ T2-T7 ได้รับปริมาณ N-K O-MgO-S อัตรา 23-50-1.4-0.8 กิโลกรัมต่อไร่
                                                                        2
                   เท่ากัน ns = ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันแสดงถึงความแตกต่างทางสถิติ (p≤0.05, HSD)
                   SE = ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53