Page 50 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                   สอดคล้องกับปริมาณผลผลิต พบว่า การใช้ปุ๋ยอัตรา 50 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ส่งผลให้ได้ผลผลิตน้่าหนักสด และ
                                                                           2
                   น้่าหนักแห้งสูงสุด 1,648 และ 183.70 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ วิธีเกษตรกร ให้ผลผลิตน้่าหนักสด และน้่าหนัก

                   แห้งต่่ากว่า 644 และ 82.05 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ (ภาพที่ 17c) และเมื่อเพิ่มปริมาณปุ๋ยมากกว่า 50 กิโลกรัม

                   K O ต่อไร่ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง ตามล่าดับ (ภาพที่ 17c) นอกจากนี้ เมื่อประเมินจากความเข้มข้นของสารเคอร์คู
                    2
                   มินอยด์ในเหง้าขมิ้นชัน พบว่า ทุกต่ารับการทดลองที่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมและวิธีเกษตรกร มีความเข้มข้นเคอร์คูมิ

                   นอยด์ไม่แตกต่างกัน อยู่ในช่วง 12.98-14.30 เปอร์เซ็นต์ แต่ต่ารับการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมมีความ

                   เข้มข้นเคอร์คูมินอยด์สูงสุด 21.80 เปอร์เซ็นต์ (ภาพที่ 17d) ชี้ให้เห็นว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้นมีผลยับยั้ง

                   การผลิตสารดังกล่าว สอดคล้องกับ ผลการหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นโพแทสเซียมกับสารเคอร์คูมิ

                   นอยด์ในเหง้าขมิ้นชัน พบว่า ปริมาณเคอร์คูมินอยด์มีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มข้นโพแทสเซียมเพิ่มขึ้น (ภาพที่

                   18) อาจเนื่องจากโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้นไปลดความเครียดจากการขาดแคลนโพแทสเซียมโดยตรง การสังเคราะห์

                   สารส่าคัญในขมิ้นชันจึงลดลง หรือผลของสภาวะปฏิปักษ์ของโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้น ไปลดการดูดใช้แคลเซียมและ
                   แมกนีเซียมให้อยู่ในระดับขาดแคลน จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมในการสังเคราะห์สารเคอร์คูมิ

                   นอยด์ ตามบทบาทหน้าที่ของธาตุทั้งสอง อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นคูเคอร์มินอยด์ที่มีการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมใน

                   ทุกต่ารับการทดลอง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของต่ารับยาสมุนไพรไทย ซึ่งก่าหนดให้มีความเข้มข้นเคอร์คูมินอยด์

                   จากเหง้าขมิ้นชันไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ (Ministry of Public Health, 2009) ในขณะที่ การใส่ปุ๋ยที่ระดับ 25

                   กิโลกรัม K O ต่อไร่ ส่งผลให้เกิดอันตรกิริยาเชิงลบต่อแคลเซียมและแมกนีเซียมต่่า ท่าให้ได้ผลผลิตน้่าหนักแห้ง
                            2
                   สูงสุด  ดังนั้น การปลูกขมิ้นชันบริเวณที่มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ต่่า อย่างชุดดินท่าแซะ ระดับปุ๋ย

                   โพแทสเซียมที่เหมาะสม คือ 25 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ทั้งนี้ อาจสามารถเพิ่มผลผลิตขมิ้นชันได้อีก หากก่อนปลูก
                                                       2
                   ขมิ้นชัน มีการแก้ปัญหาความเป็นกรดของดิน เพื่อลดความเป็นพิษของแมงกานีส โดยการใส่โดโลไมท์ เพราะ

                   นอกจากช่วยยกระดับพีเอชดิน ยังช่วยเพิ่มปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งจะช่วยลดอันตรกิริยาเชิงลบที่เกิด

                   จากโพแทสเซียม นอกจากนี้ ควรเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อช่วยดูดซับน้่าและธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ จึงควรศึกษา
                   ประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55