Page 22 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                          2.1.3  การตอบสนองต่อปริมาณโพแทสเซียมของขมิ้นชัน

                                 ศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยโพแทสเซียมของต้นขมิ้นชันที่ส่งผลต่อสมบัติดิน การเจริญเติบโต
                   รวมถึงปริมาณและคุณภาพผลผลิต โดยปลูกขมิ้นชันในแปลงทดลอง ชุดดินท่าแซะ ซึ่งเป็นดินที่มีความอุดม

                   สมบูรณ์ต่ า จ านวน 28 แปลงย่อย ขนาด 6x3 ตารางเมตรต่อแปลง ระยะปลูก 35x50 เซนติเมตร จากนั้นใส่ปุ๋ย

                   โพแทสเซียมในอัตราที่ต่างกัน วางแผนการทดลองแบบสุ่มภายในบล็อกสมบูรณ์ (randomized complete
                   block design) มี 7 ต ารับการทดลอง จ านวน 4 ซ้ า ดังนี้

                                 1)  T1, วิธีเกษตรกร (ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่)

                                 2)  T2, ไม่ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม
                                 3)  T3, ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 25 กิโลกรัม K O ต่อไร่
                                                                        2
                                 4)  T4, ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 50 กิโลกรัม K O ต่อไร่
                                                                        2
                                 5)  T5, ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 75 กิโลกรัม K O ต่อไร่
                                                                        2
                                 6)  T6, ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 100 กิโลกรัม K O ต่อไร่
                                                                          2
                                 7)  T7, ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมอัตรา 125 กิโลกรัม K O ต่อไร่
                                                                          2
                                 ทั้งนี้ T2-T7 ได้รับปริมาณ N-P O -CaO-MgO-S อัตรา 23-11-1.4-1.4-2.5 กิโลกรัมต่อไร่
                                                             2 5
                   เท่ากัน โดยประเมินจากปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิต การใส่ปุ๋ยแบ่งใส่สองครั้ง ๆ แรก หลังปลูก 1
                   เดือน ครั้งที่สอง หลังการปลูก 3 เดือน เริ่มปลูกขมิ้นชันในเดือนพฤษภาคม 2562 และเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือน

                   เมษายน 2563

                          2.2 การเก็บตัวอย่างดินและพืช
                                 ก่อนการทดลอง สุ่มเก็บตัวอย่างดิน ที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร เพื่อเป็นตัวแทนของพื้นที่

                   ศึกษา ส าหรับใช้ประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน จากนั้นแยกเก็บตัวอย่างดินในแต่ละแปลงย่อยหลังการเก็บ

                   เกี่ยวผลผลิต เพื่อประเมินสถานะการเปลี่ยนแปลงของธาตุอาหารในดิน ส่วนตัวอย่างพืชจะเก็บตัวอย่างใบและ
                   เหง้า ส าหรับใช้ติดตามการสะสมธาตุอาหาร โดยตัวอย่างใบจะสุ่มเก็บใบที่ขยายตัวเต็มที่ ในช่วงกลางฤดูปลูก

                   จ านวน 6-8 ใบ ต่อแปลง ส่วนตัวอย่างเหง้าจะเก็บตัวอย่างในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต จากการสุ่มตัวอย่างในแต่ละ
                   แปลงย่อย มาแปลงละ 4 กอ ส าหรับน าส่งห้องปฏิบัติการ และใช้ประเมินผลผลิต

                         2.3 การบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต

                                 บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นขมิ้นชันในช่วงกลางฤดูปลูก โดยประเมินจากต้นขมิ้นชัน
                       จ านวน 4 กอ ต่อแปลงย่อย ได้แก่ ความสูงต้น วัดจากพื้นดินถึงระดับคอใบของใบบนสุดที่เห็น ความกว้างใบ

                       วัดจากบริเวณกลางใบของใบที่เก็บวิเคราะห์ธาตุอาหาร และการแตกกอ ประเมินจากจ านวนต้นต่อกอ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27