Page 23 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 23
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน
ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองแบบตัวอย่างรวม (Composite Sample) ที่ระดับ
ความลึก 0-15 เซนติเมตร แล้วนำมาวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมี พบว่า ดินก่อนการทดลองค่าความ
เป็นกรดเป็นด่างของดินเท่ากับ 8.3 จัดเป็นด่างปานกลาง อินทรียวัตถุ เท่ากับ 2.06 เปอร์เซ็นต์ จัด
อยู่ในระดับปานกลาง ฟอสฟอรัส เท่ากับ 14.35 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับปานกลาง
โพแทสเซียมเท่ากับ 46.23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำ
1.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ค่าความ
เป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ในพิสัยช่วง 8.3-8.5 ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลางถึงด่างจัด โดยตำรับ
การทดลองที่ 4 วิธีการให้น้ำเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำ
หยด มีปฏิกิริยาดินสูงสุด 8.5 จัดเป็นด่างจัด ในปีที่ 2 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างในแต่ละตำรับการ
ทดลองเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นยกเว้นตำรับการทดลอง ที่ 4 และ 5 วิธีการให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์
ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด ที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างเท่าเดิม ส่วนในปีที่
3 ทุกตำรับการทดลองค่าความเป็นกรดเป็นด่างลดลงอยู่ในพิสัย 7.7-7.8 ซึ่งมีระดับของปฏิกิริยาดิน
เป็นด่างเล็กน้อย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 4)
1.2 ปริมาณอินทรียวัตถุ
หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในพิสัยร้อยละ 1.9-2.2 ใน
ระดับปานกลาง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปีที่ 2 ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในพิสัย
ร้อยละ 1.9-2.2 ในระดับปานกลางมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตำรับการทดลองที่ 2
วิธีเกษตรกรมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงสุดเท่ากับ ร้อยละ 2.2 จัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนในปีที่ 3
ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองอยู่ในพิสัยร้อยละ 2.1-2.3 ในระดับต่ำปานกลาง โดย
วิธีการที่ 4 มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นมากสุดร้อยละ 2.3 ในระดับปานกลาง (ตารางที่ 4)
1.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
หลังการทดลองปีที่ 1 พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในพิสัย 9–24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำถึงสูง
โดยวิธีการที่ 5 มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากสุดเท่ากับ 24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
รองลงมาคือ ตำรับที่ 3 2 4 และ1 โดยมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เท่ากับ 15 14 10 และ 9
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ หลังการทดลองปีที่ 2 พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทาง
สถิติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 9–27 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับต่ำถึงสูง เช่นเดียวกับปีที่ 3 ที่
ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในพิสัย 13-38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จัดอยู่ในระดับจัดอยู่
ในระดับปานกลางถึงสูง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ วิธีการที่ 5 มีปริมาณฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์มากสุดเท่ากับ 38 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 4)