Page 9 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ดอกอ้อยจะมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ด้วยกันแต่ก็แบ่งเป็น 2 พวก คือ
(1) ดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียมีความสมบูรณ์
(fertile) ผสมตัวเองได้
(2) ดอกไม่สมบูรณ์มีเกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์แต่เกสรตัวเมียสมบูรณ์
(malesfertile) ผสมตัวเองไม่ได้ แต่อาจมีบางพันธุ์ที่มีเกสรตัวผู้สมบูรณ์แต่ผสมไม่ติด เนื่องจากสภาพ
ดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการผสมพันธุ์ของอ้อย อย่างไรก็ตามการออกดอกของอ้อยนั้นมีปัจจัย
เกี่ยวข้องอยู่หลายประการ ประการ แรกอ้อยพันธุ์นั้นจะต้องเป็นพันธุ์ที่ออกดอก นอกจากนี้แล้ว
ปัจจัยอื่นๆ เช่น ช่วงแสง อุณหภูมิ ความชื้น ในดินและอากาศ ปุ๋ยไนโตรเจน เหล่านี้ทำให้อ้อยออก
ดอกได้
นอกจากนี้ยังมีระดับเส้นรุ้งที่อ้อยชื้นอยู่ กับความสูงจาก
ระดับน้ำทะเล ทิศทางลม และสภาพของ ดินก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อ้อยออกดอกได้ อ้อยตอจะออกดอก
ดีกว่าอ้อยปีแรก การบานของดอกอ้อยจะค่อยๆทยอยบานไปเรื่อย ๆ ใช้เวลา 5 - 12 วัน กว่าจะบาน
หมดทุกดอก เมื่ออ้อยเกิดการผสมพันธุ์กันขึ้นจะเกิดเมล็ดในเวลาต่อมา เมล็ดอ้อยมีลักษณะคล้าย
เมล็ดข้าวสาลีย่อส่วนลงเล็กมากจนต้องเพ่งดูจึงจะเห็นชัดเจน มีขนาดกว้าง 1.5 มิลลิเมตร ยาว 1-1.5
มิลลิเมตร การกระจายของดอกอาศัยลม เมล็ดงอก ไม่ดีถ้าสภาพไม่เหมาะสม ถ้าสภาพเหมาะสมจะ
งอกภายใน 2 - 3 วัน
1.2 การสร้างน้ำตาล
ใบอ้อยเป็นโรงงานทำน้ำตาลที่แท้จริงเพราะสามารถสร้างน้ำตาลจากวัตถุดิบง่าย ๆ คือ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ และน้ำจากดิน โดยมีแสงแดดเป็นพลังงาน ขบวนการนี้เรียกว่า
การสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ส่วนโรงงานทำน้ำตาลนั้นเป็นเพียงผู้สกัดเอาน้ำตาลซึ่งมีอยู่
แล้วออกมาจากอ้อยเท่านั้น ในการสร้างน้ำตาลกลูโคส (C6 H12 O6) 1 โมเลกุลนั้นต้องใช้วัตถุดิบ คือ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6 โมเลกุลและน้ำ 12 โมเลกุล นอกจากน้ำตาลกลูโคส (C6 H12 O6) แล้วยังมี
ออกซิเจนที่ได้จากน้ำ 6 โมเลกุล และน้ำอีก 6 โมเลกุล ดังสมการ
6CO2 + 12H2 O → C6H12 O6 +6O2 + 6H2O
การสังเคราะห์แสงประกอบด้วยปฏิกิริยา 2 ขั้น คือ
ขั้นแรก เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงแดดซึ่งเป็นพลังงานทีไม่สามารถเก็บได้โดยตรงให้มาอยู่
ในรูปสารเคมีที่ให้พลังงานสูง คือ NAKPH (nicotinamide adenine dinucleotide phosphate)
และ ATP (adenosine-5-triphosphate) ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงเท่านั้น จึงเรียกว่า
ปฏิกิริยาต้อง การแสงหรือ “light reaction”
ขั้นที่สอง เป็นการนำพลังงานที่ได้จากขั้นแรกมาใช้ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)
จะถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบหลายอย่างด้วยการช่วยเหลือของเอนไซม์ (enzyme) หลายชนิดซึ่งทำ
หน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงจนกระทั่งได้เป็นน้ำตาล ปฏิกิริยานี้ไม่ต้องใช้แสง จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไม่
ต้องการแสง หรือ “dark reaction” (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551)