Page 7 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 7
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
การตรวจเอกสาร
1.อ้อย
กรมวิชาการเกษตร (2547) ได้รายงานว่า อ้อย (Sugarcane) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Saccharum officinarum L. เป็นพืชวงศ์ Poaceae วงศ์เดียวกับ ไผ่ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าว
สาลี ข้าว ข้าวโพด และ ข้าวบาร์เลย์ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในลำต้นอ้อยที่นำมาใช้ทำ
น้ำตาลมีปริมาณซูโครสประมาณ 17-35% ชานอ้อย (bagasse) ที่ถูกบีบเอาน้ำอ้อยออกไปแล้ว
สามารถนำมาใช้ทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ ส่วนกากน้ำตาล (molasses) ที่
แยกออกจากน้ำตาลในระหว่างการผลิต สามารถนำไปหมักเป็นเหล้ารัม (rum) ได้อีกด้วย
1.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1.1.1 ราก อ้อยมีระบบรากฝอย แผ่กระจายออกโดยรอบลำต้นในรัศมี ประมาณ
50 - 100 เซนติเมตร ลึก 100 - 150 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม อ้อยไม่มีราก
แก้วนอกจากเมือปลูกด้วยเมล็ดซึ่งดูคล้ายมีรากแก้ว เรียกว่า ไพรมาริรูท หรือเซมินัลรูท ปกติอ้อย
ขยายพันธุ์โดยใช้ลำต้นดัดเป็นท่อน ๆ ละ 2 - 3 ตา แต่ละท่อนเรียกว่า ท่อนพันธุ์ ปรากฏราก 2 ชุด
คือ
1) รากของท่อนพันธุ์ อาจเรียกว่า รากชั่วคราว เป็นรากที่ เกิดจากปมราก
ในบริเวณเกิดรากของท่อนพันธุ์ รากพวกนี้มีลักษณะผอมแตกแขนงมาก
2) รากของหน่อ อาจเรียกว่า รากถาวร เป็นรากที่เกิดจากปมรากของหน่อ
ที่ เกิดจากท่อนพันธุ์นั้น รากนี้มีขนาดใหญ่กว่ารากชนิดแรกเมื่อเกิดใหม่ ๆ มีลักษณะอวบ ไม่มีแขนง
สีขาว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น
1.1.2 เมล็ด เมล็ดอ้อยเป็นผลชนิดคาริออพซิส คล้ายเมล็ดข้าวแต่มีขนาดเล็กกว่า
มาก ตามปกติเมล็ดอ้อยมักจะติดแน่นอยู่กับส่วนของดอก จึงมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า ฟัซซ์ หรือ
ฟลัฟฟเมล็ดเหล่านี้ถ้าเพาะในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะงอกเป็นอ้อยต้นใหม่ได้
1.1.3 ลำต้น อ้อยได้ชื่อว่า “หญ้ายักษ์” (giant grass) ทั้งนี้เพราะมีลำต้นสูงใหญ่
อ้อยที่ เก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 12 เดือน อาจมีลำต้นสูงประมาณ 2 - 3 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5
- 5.0 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพแวดล้อม และการปฏิบัติรักษาของซาวไร่ ลำต้น
ประกอบด้วย ข้อและปล้องจำนวนมาก ทั้งข้อและปล้องรวมเรียกว่า จอยต์ (joint) ซึ่งอาจเรียกง่าย
ๆ ว่า “ปล้อง” อ้อยที่ตัดเมื่ออายุ 12 เดือน จะมีปล้อง 20 - 30 ปล้อง อ้อยจะมีปล้องเพิ่มขึ้นโดย
เฉลี่ยประมาณ เดือนละ 3 ปล้อง แต่ละปล้องเมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ความ
ยาวของปล้องขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะน้ำ ปล้องที่เกิดในช่วงที่มีน้ำพอเหมาะจะ
ยาวกว่าปล้องที่เกิดในช่วงที่มีน้ำมากหรือน้อยเกินไป อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะได้รับน้ำอย่างเหมาะสม
ความยาวของปล้องก็จะแตกต่างกัน คือ ปล้องที่อยู่ตอนโคนต้นจะสั้นมากและค่อย ๆ ยาวขึ้นแล้วก็
จะสั้นลงอีกเมื่อใกล้ยอด ลักษณะดังกล่าวปรากฏในอ้อยที่ไม่มีดอก ส่วนอ้อยที่มีดอกปล้องที่รองรับ
ช่อดอก จะมีความยาวที่สุดแล้วลดลงตามลำดับจนกระทั่งถึงส่วนที่ปล้องมีความยาวไล่เลี่ยกัน สีของ
ลำต้น แตกต่างกันตามพันธุ์และสภาพแวดล้อม มีตั้งแต่สีม่วงแดง เขียวอ่อน และเหลือง เป็นต้น ลำ
ต้น เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการขยายพันธุ์และสะสมน้ำตาล อ้อยแต่ละพันธุ์มีปล้องแตกต่างกัน บาง