Page 32 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
1) การเก็บรวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ส าคัญ ได้แก่ การสัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่ด าเนินการ
ข้อมูลสถิติจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยสามารถจัดข้อมูลได้ 2 ประเภท
(1) ข้อมูลปฐมภูมิคือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการส ารวจในภาคสนามด้วยวิธีการ
สัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย โดยการก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางส าเร็จรูปของ
TaroYamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ได้ขนาดจ านวนตัวอย่างทั้งสิ้น 100ตัวอย่าง แล้วท าการสุ่ม
ตัวอย่างในการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (purposive sampling) คือเลือกเฉพาะเกษตรกรที่ปลูก
พืช ได้แก่ ข้าว ยางพาราอ้อยและมันส าปะหลังในพื้นที่เป้าหมาย ตามระดับความรุนแรงของการชะล้าง
พังทลายของดิน และใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์เกษตรกร
(2) ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมจากเอกสารวิชาการ ผลงานวิจัยรายงาน
บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับระบบ
การปลูกการดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลส าหรับอ้างอิงและประกอบการศึกษา
ต่อไป
2) การวิเคราะห์ข้อมูล
การน าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ แล้วท าการตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของ
ข้อมูล และประมวลผล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (descriptive
analysis) แสดงผลเป็นค่าร้อยละ และ/หรือค่าเฉลี่ย แบ่งการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
(1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือนเกษตรความรู้ ความเข้าใจ ด้านการอนุรักษ์ดิน
และน้ า ผลกระทบของการชะล้างพังทลายของดิน ตลอดจนทัศนคติ ปัญหาและความต้องการความ
ช่วยเหลือจากรัฐของเกษตรกร
(2) การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ปัจจัยการผลิตโดยใช้ปริมาณและมูลค่าปัจจัยการผลิต
ที่ส าคัญ ได้แก่ การใช้พันธุ์การใช้ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ (ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์) การใช้สารป้องกันและก าจัด
วัชพืช/ศัตรูพืช/โรคพืชการใช้แรงงานคน และแรงงานเครื่องจักร โดยวิเคราะห์และสรุปข้อมูลมาเป็น
ค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่ 1 ไร่
(3) การวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิต ได้แก่
- การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนผันแปร และ
ต้นทุนคงที่โดยมีวิธีการค านวณต้นทุน ดังนี้
ต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่
ต้นทุนผันแปรเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณ
การผลิต ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ เกษตรกรสามารถเพิ่มหรือลดได้ในช่วงระยะเวลาการผลิตพืช เช่น ค่าพันธุ์
ค่าปุ๋ย ค่าแรงงานคน ค่าแรงงานเครื่องจักร ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร และค่าขนส่งผลผลิต เป็นต้น