Page 37 - แผนบริหารจัดการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ลุ่มน้ำห้วยศาลจอด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                             21


                              6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting conditions: R)

                                 คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ าใต้ดิน และชั้น
                   การหยั่งลึกของราก โดยความยากง่ายของการหยั่งลึกของรากในดินมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลักษณะเนื้อดิน

                   โครงสร้างของดิน การเกาะตัวของเม็ดดิน และปริมาณกรวดหรือเศษหินที่พบบนหน้าตัดดิน

                              7) ศักยภาพในการใช้เครื่องจักร (Potential for mechanization: W)
                                 คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณ

                   ก้อนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 นี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนโดยเครื่องจักร
                              8) ความเสียหายจากการกัดกร่อน (Erosion hazard: E)

                                 คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่

                              9) สารพิษ (Soil Toxicities)
                                 คุณลักษณะที่ดินเป็นตัวแทนได้แก่ ระดับความลึกชั้น jarosite ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อ

                   ปฏิกิริยาดิน จ าท าให้ดินเป็นกรดจัดมาก ปริมาณซัลเฟตของเหล็กและอลูมินั่มในดินจะสูงมากจนเป็นพิษ
                   ต่อพืช





                                การจ าแนกความเหมาะสมของที่ดินตามหลักเกณฑ์ของ FAO Framework เป็นการ

                   ประเมินศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกพืชหรือประเภทการใช้ที่ดิน โดยการพิจารณาเปรียบเทียบ
                   ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพที่ดินกับความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือ

                   ประเภทการใช้ที่ดินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับใด และมีข้อจ ากัดใดบ้าง โดยได้จ าแนกความเหมาะสม
                   ออกเป็น 4 ชั้น คือ

                                 S1  : ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง
                                 S2  : ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง

                                 S3  : ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย

                                 N  : ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม
                             นอกจากนี้ชั้นความเหมาะสมแต่ละชั้นแบ่งเป็นชั้นย่อยตามข้อจ ากัดคุณภาพดินซึ่งมีอิทธิพลต่อ

                   การเจริญเติบโตของพืชจากการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน (ตารางที่ 2-3)

                  ตารางที่ 2-3  ความเหมาะสมของดินส าหรับปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ าห้วยศาลจอด อ าเภอสว่างแดนดิน

                              จังหวัดสกลนคร


                     หน่วย                 ชั้นความเหมาะสมของพืชเศรษฐกิจ                       เนื้อที่
                     แผนที่      ชุดดิน      ข้าว    มันส าปะหลัง   อ้อย     ยางพารา       ไร่      ร้อยละ

                      15    Sik-silA         S2ms         N          N          N          8,121        8.47
                      18    Nbn-pic-slA      S2ms         N          N          N          2,786        2.91

                      18    Nbn-slA          S2ms         N          N          N          2,593        2.71
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42